เรื่องน่ารู้

Blogs

การตรวจวัดค่า BMI คืออะไร? วัดยังไง? ทำไมถึงสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ

คุณเคยสงสัยไหมว่าน้ำหนักของเราตอนนี้เหมาะสมกับส่วนสูงหรือเปล่า? บางครั้งแค่ชั่งน้ำหนักอย่างเดียวอาจไม่พอ! เพราะสุขภาพไม่ได้วัดแค่จากน้ำหนักตัวเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูความสัมพันธ์กับส่วนสูงด้วย นี่คือที่มาของตัวช่วยสำคัญที่เรียกว่า BMI (Body Mass Index) หรือดัชนีมวลกาย ที่จะช่วยบอกว่าร่างกายของเราสมดุลหรือไม่?

BMI ไม่ได้แค่ช่วยให้เรารู้ว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ยังเป็นตัวบอกความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน หรือแม้กระทั่งโรคหัวใจ ใครอยากรู้ว่า ค่าบีเอ็มไอ คืออะไร มีวิธีคำนวณยังไง และต้องดูแลตัวเองยังไงให้สุขภาพดี ตามมาอ่านกันได้เลยค่ะ บทความนี้จะพาทุกคนไปไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ ค่าบีเอ็มไอ แบบครบจบในที่เดียว!

BMI คืออะไร? คำนวณง่าย ๆ รู้ได้เลยว่าน้ำหนักตัวเหมาะสมหรือไม่!

BMI หรือ Body Mass Index เป็นตัวเลขที่ใช้วัดความสมดุลระหว่างน้ำหนักและส่วนสูงของเรา เพื่อประเมินว่าร่างกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติ หรือเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัว เช่น โรคอ้วน หรือโรคขาดสารอาหาร ซึ่งการวัดค่าดัชนีมวลกายเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสุขภาพเบื้องต้นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทั้งทางการแพทย์และโภชนาการ

วิธีการวัดค่า BMI แบบง่าย ๆ แค่คำนวณให้ถูก

การวัดค่าดัชนีมวลกายนั้นสามารถคำนวณได้แบบง่าย ๆ ด้วยสูตร ดังนี้

BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ (ส่วนสูง (เมตร))²

จากนั้นนำผลลัพธ์นี้จะนำไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน BMI เพื่อประเมินสถานะน้ำหนัก ดังนี้

เกณฑ์ BMI สำหรับผู้ใหญ่

  1. น้อยกว่า 18.5: น้ำหนักน้อย (ผอม)
    • อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารหรือโรคกระดูกพรุน
  2. 18.5 – 22.9: น้ำหนักปกติ (สุขภาพดี)
    • เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสุขภาพ
  3. 23 – 24.9: น้ำหนักเกิน (อวบ)
    • เริ่มมีความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  4. 25 – 29.9: อ้วนระดับ 1 (Overweight)
    • มีความเสี่ยงปานกลางต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
  5. มากกว่า 30: อ้วนระดับ 2 (Obese)
    • ความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังสูง เช่น โรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดันสูง ไขมันในเลือดสูง

*หมายเหตุ: เกณฑ์นี้เป็นสำหรับคนเอเชีย หากเป็นคนยุโรปหรือชาติอื่น อาจมีเกณฑ์ที่แตกต่างออกไป รวมถึงการตรวจวัด BMI ด้วยตัวเอง อาจไม่เหมาะสำหรับ เด็กและวัยรุ่นที่ยังเติบโต ผู้ที่มีกล้ามเนื้อเยอะ เช่น นักกีฬา และผู้สูงอายุ หากต้องการการวิเคราะห์สุขภาพที่แม่นยำยิ่งขึ้น ควรตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกายด้วยเครื่องตรวจเฉพาะ

 

ตัวอย่างการวัดค่าดัชนีมวลกายด้วยตัวเอง

หากมีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม และส่วนสูง 1.65 เมตร
ค่าดัชนีมวลกาย = 60 ÷ (1.65)² = 22.04 > อยู่ในเกณฑ์ปกติ

และถ้าหากมีน้ำหนักตัว 100 และส่วนสูง 1.70 เมตร
ค่าดัชนีมวลกาย = 100 ÷ (1.70)² = 34.60 > อยู่ในเกณฑ์ อ้วนระดับ 2 (Obesity Class 2)

 

ทำไมการรู้ค่า บีเอ็มไอ ถึงสำคัญ?

  1. ช่วยประเมินสุขภาพเบื้องต้น: ค่าบีเอ็มไอ เป็นตัวชี้วัดง่าย ๆ ที่ช่วยให้คุณรู้ว่าน้ำหนักตัวเหมาะสมหรือเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น เบาหวาน, โรคหัวใจ, และความดันโลหิตสูง รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่า
  2. ช่วยวางแผนการดูแลสุขภาพ: หากค่าบีเอ็มไอ สูงหรือต่ำเกินไป คุณสามารถปรับพฤติกรรมการกินและออกกำลังกายเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  3. ติดตามการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก: การวัดค่าบีเอ็มไอ ช่วยติดตามผลของการควบคุมน้ำหนักหรือโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างง่ายดาย
  4. สร้างเป้าหมายสุขภาพที่ชัดเจน: เมื่อเรารู้ค่าดัชนีมวลกาย จะสามารถตั้งเป้าหมายในการปรับไลฟ์สไตล์ให้เหมาะสมได้ เช่น ลดน้ำหนัก เพิ่มกล้ามเนื้อ หรือรักษาระดับน้ำหนักในเกณฑ์ปกติ 

ค่าดัชนีมวลกาย จำเป็นต้องตรวจวัดเป็นประจำสม่ำเสมอหรือไม่?

การตรวจวัดดัชนีมวลกาย ไม่จำเป็นต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอสำหรับทุกคน แต่ก็เป็นข้อมูลสำคัญที่ควรตรวจวัดเป็นครั้งคราวเพื่อประเมินภาวะน้ำหนักและสุขภาพเบื้องต้น 

เมื่อไหร่ที่ควรตรวจวัด ดัชนีมวลกาย เป็นประจำ?

  1. เมื่อวางแผนการลดน้ำหนักหรือเพิ่มน้ำหนัก เพื่อช่วยประเมินเป้าหมายว่าควรลดหรือเพิ่มน้ำหนักเท่าไร
  2. อยู่ระหว่างควบคุมน้ำหนัก: คนที่ต้องการลดน้ำหนักหรือเพิ่มน้ำหนักควรตรวจค่าบีเอ็มไอเป็นประจำ เช่น ทุกเดือน เพื่อติดตามผลและปรับแผนการดูแลสุขภาพให้เหมาะสม
  3. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง: หากมีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคหัวใจ เบาหวาน หรือโรคอ้วน ควรตรวจค่าบีเอ็มไอ ร่วมกับการวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพ
  4. ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอย่างรวดเร็ว: หากน้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ การตรวจค่าบีเอ็มไอ อาจช่วยประเมินเบื้องต้นก่อนรับคำปรึกษาจากแพทย์
  5. เมื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี การวัดดัชนีมวลกาย ช่วยตรวจสอบความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือโรคข้อเข่า

 

ทำไมไม่จำเป็นต้องวัด ดัชนีมวลกาย บ่อยเกินไป?

  • ค่าบีเอ็มไอ เป็นเพียงดัชนีมวลกาย ซึ่งอาจไม่สะท้อนสุขภาพที่แท้จริงได้ในบางกรณี เช่น คนที่มีกล้ามเนื้อมาก (นักกีฬา) อาจมีค่าบีเอ็มไอสูง แต่ไม่ได้อ้วน
  • การวิเคราะห์สุขภาพที่ลึกซึ้งขึ้น เช่น การใช้ Body Composition Analyzer จะให้ข้อมูลที่แม่นยำกว่า เช่น สัดส่วนไขมัน กล้ามเนื้อ และน้ำในร่างกาย

 

ข้อแนะนำที่ควรรู้!

  • การตรวจหาค่าบีเอ็มไอเป็นประจำอาจไม่จำเป็นสำหรับทุกคน แต่ควรตรวจในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ระหว่างการควบคุมน้ำหนักหรือเมื่อสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลง
  • หากต้องการเข้าใจสุขภาพอย่างครบถ้วน ควรพิจารณาตรวจองค์ประกอบร่างกายเพิ่มเติม เพื่อวางแผนการดูแลสุขภาพได้ตรงจุด

 

ตรวจ BMI พร้อมวัดองค์ประกอบของร่างกายด้วยเครื่อง Body Composition Analyzer

การตรวจค่าดัชนีมวลกายด้วยตัวเอง อาจไม่สามารถบอกข้อมูลสุขภาพทั้งหมดได้ เช่น ปริมาณไขมัน กล้ามเนื้อ และน้ำในร่างกาย ดังนั้นการตรวจด้วยเครื่อง Body Composition Analyzer ซึ่งเป็นเครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายที่ทันสมัย จะช่วยให้เราได้ข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำไปวางแผนการดูแลสุขภาพได้ดังนี้

    • BMI: ทราบค่าดัชนีมวลกายโดยรวม
    • เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย: ช่วยระบุว่ามีไขมันส่วนเกินหรือไม่
    • มวลกล้ามเนื้อ: สำคัญสำหรับการสร้างความแข็งแรงและระบบเผาผลาญ
    • น้ำในร่างกาย: วัดความสมดุลของปริมาณน้ำในร่างกาย
    • อัตราการเผาผลาญ (BMR): ช่วยประเมินพลังงานที่ร่างกายใช้ในแต่ละวัน
    • คะแนนสุขภาพรวม (Body Score): ตัวเลขที่สรุปสุขภาพร่างกายโดยรวม
    • ค่าอื่นๆ อีกมากมาย: พร้อมคำแนะนำเบื้องต้น

ข้อดีของการวัดด้วย Body Composition Analyzer

  • ได้ข้อมูลที่ละเอียดและแม่นยำมากกว่า วัดบีเอ็มไอด้วยตัวเอง
  • ช่วยวางแผนการดูแลสุขภาพได้ตรงจุด
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือเสริมสร้างกล้ามเนื้อ รวมถึงวางแผนการดูแลสุขภาพ
  • วัดสัดส่วนไขมัน, มวลกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็น Soft Lean Mass, Skeletal Muscle Mass และวัดน้ำในร่างกายได้อย่างละเอียด แม่นยำสูงถึง 95%
  • วัดผลเชิงลึก เช่น พื้นที่ไขมันช่องท้อง ภาวะอ้วนลงพุง และภาวะบวมน้ำ
  • วัดผลของร่างกายอื่น ๆ ได้อีกมากมาย

 

ตัวอย่างการวัดค่าจากเครื่อง Body Composition Analyzer

โดยที่ S’RENE by SLC คลินิกสุขภาพสำหรับคนเมือง มีโปรแกรมตรวจวัดองค์ประกอบร่างกาย ด้วยเครื่อง Body Composition Analyzer (1,500.- / ครั้ง) ที่ช่วยวิเคราะห์ร่างกายอย่างละเอียด เพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงข้อมูลร่างกาย และสุขภาพแบบครบถ้วน สามารถนำไปปรับแผนการดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

S'RENE by SLC

สามารถรับคำแนะนำด้านสุขภาพที่แม่นยำ และเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคนเมืองยุคใหม่ โดยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกันได้ที่ S’RENE by SLC สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือจองคิวได้ที่ 

▪️ สาขา ทองหล่อ ชั้น 4 – โทร 064 184 5237

▪️ สาขา ชาน แจ้งวัฒนะ 14 ชั้น 2 – โทร  099 807 7261

▪️ สาขา พาราไดซ์ พาร์ค ชั้น 3 – โทร  081 249 7055

▪️ สาขา เซ็นทรัลลาดพร้าว ชั้น 6 – โทร 080 245 7669

สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่