เรื่องน่ารู้

Blogs

มดลูกหย่อน สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงต้องระวัง รู้ทันพร้อมรับมือ!

รูปภาพมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนเป็นภาวะที่ผู้หญิงหลายคนไม่ได้ค่อยใส่ใจ หรือยังไม่รู้จัก แม้แต่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือเปล่าซะด้วยซ้ำ ซึ่งปัญหามดลูกหย่อนนี้ เกิดขึ้นเมื่อมดลูกเลื่อนต่ำลงมาจากตำแหน่งปกติในบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และสุขภาพองค์รวม โดยเฉพาะในช่วงด้านล่าง อาการเบื้องต้นมักจะเริ่มจากความรู้สึกถ่วง หน่วง ๆ หรือกดดันในบริเวณช่องคลอด ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายและสูญเสียความมั่นใจได้

ภาวะมดลูกหย่อนเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายแล้ว ยังอาจกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้หญิงอีกด้วย การทำความเข้าใจถึงสาเหตุ และการรักษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยในบทความนี้ จะพาผู้หญิงทุกคนไปทำความรู้จักกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษามดลูกหย่อน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตัวเอง และเตรียมพร้อมรับมือแก้ไขกับปัญหานี้ได้อย่างถูกวิธี โดยไม่ตกใจเกินไป หรือปล่อยละเลย

มดลูกหย่อน คืออะไร?

ภาวะมดลูกหย่อน คือภาวะที่มดลูกเลื่อนลงมาต่ำกว่าตำแหน่งปกติในบริเวณอุ้งเชิงกราน เนื่องจากกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อที่รองรับมดลูกนั้นอ่อนแรง หรือถูกทำลาย มักเกิดขึ้นในผู้หญิงที่ผ่านการคลอดบุตรหลายครั้ง หรือมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น การยกของหนัก การมีอายุที่มากขึ้น หรือภาวะอ้วน อาการของมดลูกหย่อน หรือมดลูกต่ำอาการที่เห็นได้ชัด ก็จะมีตั้งแต่รู้สึกถ่วงในช่องคลอด ปัสสาวะลำบาก หรือปวดหลัง ซึ่งอาจรบกวนชีวิตประจำวัน และควรได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

มดลูกหย่อน เพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง ใช่หรือไม่?

ใช่ค่ะ มดลูกหย่อนมักเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยพยุงมดลูก และอวัยวะอื่น ๆ ในบริเวณอุ้งเชิงกราน เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้อ่อนแรง มดลูกอาจเลื่อนลงมาต่ำกว่าตำแหน่งปกติ ส่งผลให้เกิดอาการมดลูกหย่อน 

มดลูกหย่อนมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง?

สาเหตุมดลูกหย่อน เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ผู้หญิงแต่ละคนก็จะมีอาการ และปัญหาที่มดลูกหย่อนที่ไม่เหมือนกัน ได้แก่

  1. การคลอดบุตรหลายครั้ง: โดยเฉพาะการคลอดที่ใช้แรงกดดันมาก หรือการคลอดบุตรที่มีขนาดใหญ่
  2. อายุที่มากขึ้น: การเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกราน เป็นสาเหตุที่มดลูกหย่อนอันดับต้น ๆ 
  3. กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง: มดลูกหย่อนเกิดจากสาเหตุหลัก ๆ ก็คือการที่อุ้งเชิงกรานที่คอยพยุงมดลูกอยู่นั้น มีปัญหา อ่อนแรง ทำให้มดลูกหย่อนลงมาทำที่บริเวณช่องคลอด จนเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา
  4. การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน: ฮอร์โมนเพศที่ไม่สมดุล มักจะส่งผลหลาย ๆ อย่างในร่างกาย โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับเพศ มักเกิดขึ้นในวัยหมดประจำเดือน หรือภาวะวัยทอง ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อในบริเวณนั้นอ่อนแรง และเสี่ยงต่อการเกินภาวะมดลูกหย่อนตามมา
  5. ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน: โดยน้ำหนักส่วนเกินนั้น จะเป็นตัวการที่ช่วยไปเพิ่มแรงกดดันในอุ้งเชิงกราน อาจจะทำให้เสี่ยงต่อภาวะนี้ได้สูงมาก
  6. การยกของหนัก: เมื่อเรามีการใช้กล้ามเนื้อหนัก ๆ ก็สามารถทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานอ่อนแรง หากยกบ่อย ๆ เป็นประจำ ก็เสี่ยงมดลูกกหย่อนได้
  7. การไอเรื้อรัง: เพิ่มแรงกดดันในช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน

อาการของมดลูกหย่อน เป็นอย่างไร?

อาการของมดลูกหย่อนนั้น สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ จากหลายอาการ ในกรณีที่ถ้าอาการไม่รุนแรงมากนัก ก็อาจจะมีอาการที่แสดงออกมาไม่ค่อยชัดเจน แต่ถ้าหากมีอาการมดลูกต่ำเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และทำการรักษาที่เหมาะสม หรือรู้ทันก่อนที่จะมีอาการหนักเกินไป 

  1. รู้สึกถ่วงหรือกดดันภายในช่องคลอด: ความรู้สึกเหมือนว่าจะมีบางอย่างเลื่อนลงมาต่ำในช่องคลอด รู้สึกหน่วง ๆ ในช่องคลอด อาจจะเป็นเพราะว่ามดลูกหย่อนเข้าในช่องคลอด
  2. รู้สึกมีบางอย่างโป่งนูนออกมาจากช่องคลอด: ต้องคอยดันกลับเข้าไปบ่อย ๆ เพราะรู้สึกว่ามีบางอย่างหลุดออกมาตรงช่องคลอด
  3. ปวดหลังส่วนล่าง: อาการปวดเรื้อรังที่บริเวณด้านหลังส่วนล่าง หรือมีอาการปวดที่อุ้งเชิงกราน อาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่า กำลังมีอาการมดลูกหย่อน 
  4. ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะเล็ด: อาจมีปัญหาในการควบคุมปัสสาวะ กลั้นฉี่ไม่ได้ หรือฉี่บ่อย ๆ
  5. มีอาการท้องผูกบ่อย ๆ: ขับถ่ายลำบาก ไม่ค่อยขับถ่าย
  6. รู้สึกไม่สบายเมื่อมีเพศสัมพันธ์: อาจจะเป็นเพราะปากมดลูกหย่อน ส่งผลให้มีความรู้สึกเจ็บ ๆ หรือไม่สบายในขณะมีเพศสัมพันธ์ 
  7. มีเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ:  ควรรีบพบแพทย์ทันที หากเช็กแล้วว่าไม่ใช่ประจำเดือน แต่เป็นเลือดออกมาแบบผิดปกติในช่องคลอด 
  8. การเคลื่อนไหวลำบาก: รู้สึกอึดอัด หรือมีปัญหาเวลาที่มีการเคลื่อนไหว หรือเดินมาก ๆ

วิธีเช็คมดลูกหย่อนด้วยตัวเอง

เบื้องต้นผู้หญิงสามารถ เช็กมดลูกหย่อนด้วยตัวเองได้ โดยสังเกตความรู้สึกถ่วงในช่องคลอด หรือรู้สึกว่ามีบางอย่างเลื่อนลงมาเมื่อยืน หรือเดิน รวมถึงเช็กดูว่า หากมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม 

อันตรายแค่ไหน? มาเช็กระดับความรุนแรงของอาการมดลูกหย่อนกันดีกว่า!

รูปภาพอาการมดลูกหย่อน

ระดับความรุนแรงของอาการมดลูกหย่อนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ โดยอาการในแต่ละระดับก็จะมีความรุนแรงขึ้นอยู่กับการหย่อน และเคลื่อนที่ของมดลูกมากน้อยแค่ไหน ดังนี้

  1. ระดับที่ 1: มดลูกหย่อนลงมาเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในช่องคลอด อยู่ในระดับเล็กน้อย
  2. ระดับที่ 2: มดลูกหย่อนลงมาจนถึงปากช่องคลอด อยู่ในระดับปานกลาง
  3. ระดับที่ 3: มดลูกหย่อนออกมานอกปากช่องคลอดบางส่วน อยู่ในระดับรุนแรง
  4. ระดับที่ 4: มดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอด ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่รุนแรงที่สุด 

การรักษามดลูกหย่อน ไม่ยาก และน่ากลัวอย่างที่คิด

การรักษามดลูกหย่อน ตามระดับอาการ ในแต่ละระดับก็จะมีการรักษาที่ต่างกัน ๆ ออกไป หากมีอาการไม่การรักษามดลูกหย่อน ตามระดับอาการ ในแต่ละระดับก็จะมีการรักษาที่ต่างกัน ๆ ออกไป หากมีอาการไม่รุนแรงมาก อาจจะแค่มาทำทรีตเมนต์เพิ่มความแข็งแรงให้อุ้งเชิงกราน ออกกำลังให้ถูกวิธี ดูแลตัวเองได้ในระดับนึง แต่ถ้าหากอาการหนัก หรือรุนแรง อาจจะต้องมีการผ่าตัด เพื่อเอามดลูกออกมา 

โดยการเลือกวิธีรักษามดลูกหย่อนในแต่ละระดับ จะขึ้นอยู่กับอาการ และความเหมาะสมของผู้ป่วย ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง และวิธีแก้ไขมดลูกหย่อนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษามดลูกหย่อน

ระดับที่ 1: มดลูกหย่อนเล็กน้อย

อาการ: มดลูกหย่อนลงมาบางส่วนเล็กน้อย แต่อยู่ในช่องคลอด อาจไม่มีอาการชัดเจน บางคนอาจรู้สึกถึงแรงดึงหรือน้ำหนักในบริเวณอุ้งเชิงกราน หรืออาจรู้สึกว่ามีบางอย่าง “ห้อย” อยู่ในช่องคลอด

การรักษา:

  • การออกกำลังกาย Kegel: การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นวิธีหลักที่แนะนำ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และสามารถป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม: หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และพยายามรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • การใช้ฮอร์โมนเฉพาะที่: ในบางกรณีอาจใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อเสริมความแข็งแรงของเนื้อเยื่อในบริเวณช่องคลอด
  • ทำทรีตเมนต์ดูแลน้องสาว: โดยในปัจจุบันนี้มีโปรแกรมสำหรับน้องสาวมากมาย ทั้งช่วยฟื้นฟู เพิ่มความแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่อง Indiba หรือ Magneto เพื่อเป็นการป้องกันก่อนอาการจะหนัก

ระดับที่ 2: มดลูกหย่อนปานกลาง

อาการ: มดลูกหย่อนลงมามากกว่าเดิมจนใกล้กับทางเปิดของช่องคลอด อาจเริ่มมีอาการที่ชัดเจนขึ้น เช่น ความรู้สึกอึดอัดในช่องคลอด ปวดหลังส่วนล่าง หรือมีปัญหาในการปัสสาวะ หรือขับถ่าย

การรักษา:

  • การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง (Pessary): หากแพทย์เริ่มมองเห็นว่าอาการไม่ดี จะมีการให้ใช้อุปกรณ์พยุงที่ใส่ในช่องคลอด หรือใส่ห่วงมดลูกหย่อน ที่มีลักษณะเป็นโดนัท เพื่อช่วยประคองมดลูกให้อยู่ในตำแหน่งปกติ ซึ่งการใช้งานก็จะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
  • การออกกำลังกาย Kegel: ยังคงเป็นส่วนสำคัญของการรักษา เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • การใช้ฮอร์โมนเฉพาะที่: อาจใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามดลูกหย่อน 
  • รักษาอย่างต่อเนื่องด้วย Magneto: เพื่อให้การรักษาเป็นได้ด้วยดี และมีประสิทธิภาพ ควรมานั่งเก้าอี้ Magneto เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับอุ้งเชิงกรานอยู่เป็นระยะ และช่วยเสริมให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น 

ระดับที่ 3: มดลูกหย่อนรุนแรง

อาการ: มดลูกหย่อนลงมาจนถึง หรือเกินกว่าทางเปิดของช่องคลอด อาจเห็นหรือรู้สึกถึงมดลูกที่หย่อนออกมา บางครั้งอาจมีปัญหาในการเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ อาการปวดหลัง และความรู้สึกไม่สบายตัวมักชัดเจนขึ้น

การรักษา:

  • การผ่าตัดซ่อมแซมอุ้งเชิงกราน: แพทย์จะทำการซ่อมแซม แก้มดลูกหย่อน และเสริมความแข็งแรงของเนื้อเยื่ออุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจใช้วัสดุสังเคราะห์ หรือเนื้อเยื่อของผู้ป่วยเอง 
  • การผ่าตัดยกมดลูก: การยกมดลูกให้กลับไปอยู่ในตำแหน่งปกติ โดยใช้ไหม หรือวัสดุสังเคราะห์ในการผูกยึดมดลูก ช่วยแก้ไขมดลูกหย่อน
  • การผ่าตัดมดลูกออก: ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก หรือไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น อาจต้องพิจารณาการผ่าตัดเอามดลูกออก สำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการจะมีลูกแล้ว
  • ดูแลหลังผ่าตัดด้วยโปรแกรมฟื้นฟูน้องสาว: ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในโปรแกรมต่าง ๆ จะช่วยฟื้นฟู และเร่งการซ่อมแซม พร้อมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ไม่ว่าจะใช้เครื่อง Indiba หรือ Magneto ก็จะช่วยทำให้อุ้งเชิงกรานแข็งแรง และฟื้นฟูเร็วขึ้น

ระดับที่ 4: มดลูกหย่อนเต็มที่ มีอาการรุนแรงที่สุด

อาการ: มดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอด ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และอาจมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อ หรือการระคายเคืองของผิวหนัง เป็นภาวะที่รุนแรงที่สุด ควรรีบแก้ไขมดลูกหย่อน และอาจเน้นที่การผ่าตัดมดลูกหย่อนเป็นหลัก 

การรักษา:

  • การผ่าตัดมดลูกออก: เป็นวิธีรักษาหลักในกรณีนี้ เนื่องจากอาการรุนแรง และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การผ่าตัดจะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • การดูแลหลังการผ่าตัด: หลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายและป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ
  • ทำทรีตเมนต์ฟื้นฟูช่องคลอด และอุ้งเชิงกราน หลังผ่าตัด: สำหรับคนที่รักษา หรือมีการผ่าตัดแล้ว สามารถทำโปรแกรมฟื้นฟูน้องสาว เพื่อให้กลับมามีสุขภาพที่ดี และมีอุ้งเชิงกรานที่แข็งแรงขึ้น

ภาวะมดลูกหย่อน

การป้องกันมดลูกหย่อน ด้วยตัวเอง เริ่มวันนี้ สุขภาพดีแล้ว!

การป้องกันมดลูกหย่อนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ผ่านการดูแลสุขภาพ และการออกกำลังกายที่ถูกวิธี การเรียนรู้วิธีป้องกัน และรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่เพียงแต่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ แต่ยังช่วยให้ผู้หญิงมีสุขภาพที่ดีขึ้นในระยะยาว ดังนั้นเช็คมดลูกหย่อน แล้วมาทำความรู้จักกับวิธีป้องกันมดลูกหย่อนด้วยตัวเองกันเถอะ

  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก: การยกของหนักซ้ำ ๆ อาจเพิ่มแรงกดดันในช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน ควรใช้ท่าทางที่ถูกต้องในการยกของ และหลีกเลี่ยงการยกของหนักเกินไป
  • ควบคุมน้ำหนัก: การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะช่วยลดแรงกดดันต่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้
  • ป้องกันอาการท้องผูก: การเบ่งในขณะที่ถ่ายอุจจาระ อาจเพิ่มแรงกดดันในช่องท้องได้ ดังนั้นควรบริโภคอาหารที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • การออกกำลังกายกระชับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน: การฝึกท่า Kegel เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยกระชับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพียงทำการขมิบกล้ามเนื้อที่ใช้หยุดการปัสสาวะเป็นเวลา 5-10 วินาที 
  • ป้องกันและรักษาโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง: โรคเหล่านี้อาจทำให้เกิดการไอเรื้อรัง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มแรงกดดันในช่องท้อง ส่งผลให้มีการขยับ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกหย่อน
  • ทำทรีตเมนต์เพื่อฟื้นฟูน้องสาว และเพิ่มความแข็งแรงให้อุ้งเชิงกราน: หากมีเวลา และงบ แนะนำว่า ให้หาทรีตเมนต์ที่ช่วยในเรื่องของเพิ่มความแรงให้อุ้งเชิงกราน หรือช่วยให้กล้ามเนื้อช่องคลอดแข็งแรง ก็จะเป็นการดูแล และป้องกันได้ในระดับนึง อีกทั้งยังเป็นการดูแลสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

ออกกำลังกายแก้อาการมดลูกหย่อน

การออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เช่น การฝึกขมิบ หรือท่าออกกำลังกายต่าง ๆ ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี และการออกกำลังกายที่เหมาะสม จะช่วยป้องกัน และลดความเสี่ยงของภาวะมดลูกหย่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โดยการออกกำลังกายสำหรับแก้อาการมดลูกหย่อนเน้นที่การเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยพยุงมดลูกให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง สามารถออกกำลังกายท่ากระชับมดลูกหย่อนได้ตามนี้ 

1. ท่า Kegel

  • วิธีทำ: ขมิบกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหยุดปัสสาวะ ค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วปล่อย ทำซ้ำ 10-15 ครั้งต่อเซต ทำวันละ 3 เซต
  • ประโยชน์: ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ป้องกันและบรรเทาอาการมดลูกหย่อน

2. ท่า Bridge

  • วิธีทำ: นอนหงาย งอเข่า วางเท้าราบกับพื้น ยกสะโพกขึ้นให้ลำตัวเป็นเส้นตรงจากหัวไหล่ถึงหัวเข่า ค้างไว้ 5 วินาที แล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง
  • ประโยชน์: ช่วยเสริมกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและสะโพก ลดแรงกดดันต่อมดลูก

3. ท่า Squat

  • วิธีทำ: ยืนแยกเท้ากว้างเท่าหัวไหล่ งอเข่าลดสะโพกลงเหมือนนั่งเก้าอี้ โดยที่หลังตรงและเข่าไม่เกินปลายเท้า ค้างไว้ 5 วินาที แล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง
  • ประโยชน์: เสริมกล้ามเนื้อรอบอุ้งเชิงกรานและสะโพก ช่วยรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่รองรับมดลูก

แก้มดลูกหย่อน

ตรวจและรักษาอาการมดลูกหย่อนที่ S’RENE by SLC คลินิกสุขภาพสำหรับคนเมือง

สำหรับที่ S’RENE by SLC จะมีโปรแกรมการตรวจ และรักษาอาการมดลูกหย่อน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งในขั้นตอนแรกจะเริ่มต้นด้วยการประเมินอาการอย่างละเอียด เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม และแก้ไขหาสาเหตุ อาจจะต้องมีการตรวจสุขภาพฮอร์โมนเพศ เพื่อนำมาประกอบในการรักษา และยังมีการรักษาอื่น ๆ ดังนี้ 

  • ตรวจอัลตร้าซาวด์: โดยการตรวจอัลตร้าซาวด์จะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินสภาพ และระดับความรุนแรงของมดลูกหย่อนได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ การตรวจนี้ยังช่วยวางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • เพิ่มความแข็งแรงน้องสาวด้วยเครื่อง Indiba: สำหรับโปรแกรม Feminine Care ที่ S’RENE by SLC จะช่วยฟื้นฟูและรักษาน้องสาว หรือช่องคลอดของเราให้กลับมามีสุขภาพที่ โดยจะเป็นการทำทรีตเมนต์ด้วยเครื่อง Indiba ที่จะส่งพลังคลื่นความถี่วิทยุ เข้าไปเร่งการฟื้นฟู และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยจะมีการทำทั้งหมด 3 ระดับ 3 หัว ผสานเทคนิคพิเศษโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความกระชับ ชุ่มชื้น อุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น และสีผิวด้านนอกที่ดูสดใส
  • เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วย Magneto STYM™ Therapy: เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่ดี และช่วยป้องกันภาวะมดลูกหย่อน ซึ่งสามารถทำการรักษาได้แบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่นั่งไม่กี่นาที ก็จะรู้สึกได้ถึงการหดตัวหรือขมิบ (Kegel exercise) บริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง เหมือนได้ขมิบ 50,000 ครั้ง ภายใน 30 นาที หากทำอย่างต่อเนื่อง จะรู้สึกได้ถึงความกระชับช่องคลอดหลวม กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่แข็งแรงขึ้น ลดอาการปัสสาวะเล็ด พร้อมช่วยแก้ปัญหาภาวะมดลูกหย่อนได้ 

มดลูกหย่อนวิธีรักษา

สามารถเข้ามารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน His & Her Wellness กับ S’RENE by SLC หรือมาตรวจสุขภาพเพศเพื่อดูว่ามีปัญหาสุขภาพเพศ หรือมารักษาอาการมดลูกหย่อนโดยเฉพาะก็ได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือจองคิวได้ที่

  • สาขา ทองหล่อ – โทร: 064184 5237
  • สาขา Charn แจ้งวัฒนะ14 – โทร:  099 807 7261
  • สาขา Paradise Park ชั้น 3 – โทร  081 249 7055
  • LINE: @SRENEbySLC

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Uterine Prolapse. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16030-uterine-prolapse

Prolapsed Uterus. Better Health Channel. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/prolapsed-uterus

Prolapsed Uterus. WebMD.https://www.webmd.com/women/prolapsed-uterus

Uterine Prolapse: Symptoms and Causes. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/uterine-prolapse/symptoms-causes/syc-20353458

อ้างอิง แบบ APA 

Uterine prolapse – Symptoms and causes

How to Treat a Prolapsed Uterus

Uterine Prolapse: Stages, Symptoms, Treatment & Surgery

Prolapsed uterus

สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่