เรื่องน่ารู้

Blogs

วัยทองผู้หญิง (Menopause) รู้ทันก่อน พร้อมรับมือได้!

วัยทองผู้หญิง

“วัยทอง (Golden age)” เป็นคำที่ฟังแล้ว รู้สึกว่าไม่น่าฟังซะเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะคำว่า วัยทองผู้หญิง ซึ่งหลายคนรู้จักกันดีอยู่แล้วว่าคำนี้มักจะสื่อถึงผู้หญิงที่มีอายุ วัยหมดประจำเดือน และมีการหยุดผลิตฮอร์โมน และถึงแม้ว่าจะฟังดูน่ากังวล แต่การเข้าสู่วัยทองไม่ได้หมายความว่าชีวิตกำลังจะหมดความสนุก กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงวัยทองได้ดูแลตัวเองอย่างจริงจัง ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดีขึ้น และค้นหาความสนุกใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับวัย ช่วงนี้ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเอง ปรับปรุงความสัมพันธ์ และเรียนรู้การดูแลร่างกายและจิตใจให้มีความสุขในทุกๆ วัน

วัยทองไม่ใช่จุดสิ้นสุด! แม้ว่าการเข้าสู่วัยทองจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของผู้หญิง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมองว่าเป็นเรื่องลบ ดังนั้นมาทำความเข้าใจเรื่องวัยทองกันให้ดี การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ต้องรู้วิธีรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ให้ถูกต้อง ชีวิตก็จะยังเต็มไปด้วยพลังและความสุข มาหาวิธีดูแล รักษาอาการวัยทองในผู้หญิง ไปกับเรา แล้วมาเป็นสาววัยทองที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีกันดีกว่า

วัยทองผู้หญิง คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

ภาวะวัยทองในผู้หญิง คือช่วงเวลาที่ผู้หญิงเข้าสู่ระยะหมดประจำเดือน (Menopause) เป็นช่วงหนึ่งในชีวิตของผู้หญิงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจที่สำคัญ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อรังไข่หยุดการผลิตฮอร์โมนเพศอย่าง ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่มีบทบาทในการควบคุมรอบเดือนและการทำงานของระบบสืบพันธุ์ เมื่อระดับฮอร์โมนลดลง รอบเดือนจะค่อยๆ หยุดไป และเข้าสู่ภาวะวัยทองอย่างถาวร

วัยหมดประจำเดือน

ผู้หญิงหมดประจำเดือนอายุเท่าไหร่?

หลายคนสงสัย ผู้หญิงเข้าวัยทองอายุเท่าไหร่ โดยอายุเฉลี่ยสำหรับการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 49-50 ปี ปกติส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปี ซึ่งวัยหมดประจำเดือนจะเกิดขึ้นเมื่อประจำเดือนหยุดมาเป็นเวลา 12 เดือนติดต่อกัน แต่ในบางกรณีอาจเกิดเร็วกว่าหรือช้ากว่านั้น ความแตกต่างขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม สุขภาพ และพฤติกรรมการใช้ชีวิต อีกทั้งวัยทองไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่จะค่อย ๆ เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ผ่าน 3 กระบวนการเข้าสู่วัยทอง ซึ่งแบ่งออกได้ ดังนี้

  1. ระยะก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopause): ระยะนี้เป็นช่วงที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนเริ่มลดลง ส่งผลให้รอบเดือนเริ่มมาไม่สม่ำเสมอ และมีอาการวัยทองผู้หญิงบางอย่าง เช่น ร้อนวูบวาบหรืออารมณ์แปรปรวน เป็นช่วงที่อาการวัยทองเริ่มปรากฏ
  2. วัยหมดประจำเดือน (Menopause): ประจำเดือนหยุดลงอย่างถาวร ซึ่งหมายถึงไม่มีประจำเดือนเป็นเวลา 12 เดือนติดต่อกัน ก็จะถือว่าเข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงมากที่สุดในช่วงนี้
  3. วัยหลังหมดประจำเดือน (Postmenopause): ระยะนี้เริ่มต้นหลังจากที่ไม่มีประจำเดือนครบ 12 เดือน ช่วงเวลาหลังจากหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนจะเริ่มคงที่มากขึ้น อาการต่างๆ ที่เคยเกิดในระยะก่อนอาจค่อย ๆ ลดลง แต่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน และโรคหัวใจเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา หากไม่ดูแลรักษาสุขภาพให้ดี

ฮอร์โมนเพศหญิง..สำคัญอย่างไรกันนะ?

ก่อนที่จะไปหาสาเหตุและดูวิธีรักษา ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ฮอร์โมนเพศหญิงทำไมถึงสำคัญ เพราะถ้าหากฮอร์โมนไม่สมดุลก็จะส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย จนไปส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้ ซึ่งนั่นอาจนำไปสู่ปัญหาเรื้อรังที่ตามมา

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน: ทำหน้าที่หลักควบคุมอวัยวะในระบบเจริญพันธุ์ และมีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ อาทิ กระดูก หัวใจ และสมอง ฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนใหญ่สร้างมาจากรังไข่ รังไข่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยสาว โดยจะลดลงเมื่อ 40 ปีขึ้นไป และหยุดผลิตเมื่อวัยหมดประจำเดือน
  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน: เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่ ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง และสมองไฮโปธาลามัส มีหน้าที่ช่วยทำให้เกิดประจำเดือน ไฮโปธาลามัส เป็นสมองที่ควบคุมอารมณ์ จิตใจ อารมณ์ จึงมีผลกระทบกับประจำเดือน โดยเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลง เพราะรังไข่หยุดทำงาน

อาการผู้หญิงวัยทอง

อาการวัยทองในผู้หญิง เช็กลิสต์กันสักนิดว่ามีอาการเหล่านี้ไหม?

ร่างกายของผู้หญิงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเมื่อก้าวเข้าสู่ช่วง วัยทองผู้หญิง ดังนั้นอย่าละเลยสัญญาณเตือน หรืออาการวัยทองของผู้หญิงที่แสดงออกมา ถ้าหากพบว่ามีอาการเหล่านี้ นั่นหมายความว่าคุณกำลังย่างก้าวเข้าสู่วัยทอง หรือมีอาการคนหมดประจำเดือนแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นได้ก่อนช่วงที่ควรจะเกิด โดยอาการที่พบได้บ่อย ๆ ก็มีตามนี้

  1. ร้อนวูบวาบ (Hot flashes): เป็นอาการวัยทองหญิงที่พบได้มากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เกิดความร้อนภายในร่างกาย รู้สึกร้อนหน้า ร้อนตัว บางครั้งมีเหงื่อออกกลางคืน ถึงแม้ว่าจะอยู่ในอากาศที่เย็นสบาย
  2. เหงื่อออกตอนกลางคืน (Night sweats): การนอนหลับอาจถูกรบกวนจากการเหงื่อออกตอนกลางคืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาการร้อนวูบวาบ
  3. อารมณ์แปรปรวน (Mood swings): ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือมีอาจอาการซึมเศร้า ขึ้นสุด ลงสุด อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หรือวิตกกังวลมากกว่าปกติ
  4. การนอนหลับผิดปกติ (Sleep disturbances): ความยากลำบากในการนอนหลับ หรือการนอนหลับไม่สนิทเป็นปัญหาที่พบได้ อาจทำให้อ่อนเพลียในช่วงกลางวัน
  5. ช่องคลอดแห้ง (Vaginal dryness): การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนส่งผลให้ช่องคลอดแห้งและเยื่อบุช่องคลอดบางลง รวมไปถึงสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้เกิดความรู้สึกว่าช่องคลอดไม่กระชับจนอาจทำให้ช่องคลอดหลวม ทำให้รู้สึกไม่สบายหรือเจ็บปวดในขณะมีเพศสัมพันธ์ จนไม่อยากมีเซ็กส์ และอาจเสี่ยงให้เกิดปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์ได้
  6. ความต้องการทางเพศลดลง (Low libido): การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โดยเฉพาะการลดลงของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน แม้ว่าจะเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในผู้ชาย แต่ก็มีบทบาทในผู้หญิงเช่นกัน การลดลงของฮอร์โมนนี้สามารถส่งผลให้ความต้องการทางเพศและพลังงานลดลง
  7. น้ำหนักเพิ่ม (Weight gain): การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส่งผลให้การเผาผลาญในร่างกายช้าลง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณรอบเอวและหน้าท้อง
  8. ความจำเสื่อม (Memory impairment): อาจรู้สึกว่ามีปัญหาในการจดจำสิ่งต่าง ๆ หรือมีความลืมง่ายมากขึ้น
  9. มีปัญหาในเรื่องของปัสสาวะ (Urinary problems): พอมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาจทำให้เกิดการหย่อนยานของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ส่งผลต่อการเกิดมดลูกหย่อนและกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งส่งผลมีปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเล็ด กลั้นฉี่ไม่ได้ ฉี่ขัด หรือมีอาการปวด พบได้บ่อยเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
  10. กระดูกเปราะบาง (Brittle bones): ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงส่งผลให้มวลกระดูกลดลง ทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน ส่งผลให้เวลาล้ม กระแทกพื้นแรง ๆ อาจทำให้กระดูกหักหรืออักเสบได้ง่าย
  11. อาการอื่น ๆ (Other symptoms): นอกจากนี้อาการของวัยทองในผู้หญิงของบางคนอาจประสบกับอาการหัวใจเต้นแรง ปวดศีรษะ ปวดข้อและกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอาจจะมีผมร่วงหรือผมบางมากขึ้น

อาการของวัยทองผู้หญิง มาพร้อมกับอาการที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจจะมีเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางคนอาจเผชิญกับอาการรุนแรง ดังนั้นหากมีอาการหรือสัญญาณเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฮอร์โมนทันที จะได้รักษาและดูแลสุขภาพฮอร์โมนได้ทัน

วิธีแก้วัยทองผู้หญิง

วิธีการดูแลตนเองเมื่อเข้าสู่วัยทอง ทำได้ไม่ยาก เริ่มได้ตั้งแต่วันนี้!

การรับมือกับวัยทอง หรือ วัยหมดประจำเดือน ไม่ใช่เรื่องยาก หากมีการดูแลตัวเองที่ดีและมีการปรึกษาแพทย์ควบคู่ไปกับการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในร่างกายจะช่วยให้ชีวิตยังคงสนุกและเต็มไปด้วยพลัง พร้อมด้วยสุขภาพที่ดี เรามาดูกันว่ามีวิธีอะไรบ้าง

1. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ดีในการรับมือกับวัยทอง เพราะช่วยเพิ่มระดับพลังงาน ลดอาการซึมเศร้า และช่วยรักษามวลกระดูกให้แข็งแรง การออกกำลังกายที่เหมาะสม จะช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกสดชื่น ไม่ว่าจะเป็น

  • การเดิน: ช่วยเผาผลาญแคลอรีและเสริมสร้างกระดูก
  • โยคะและพิลาทิส: เป็นกิจกรรมที่เหมาะสำหรับการฝึกสมาธิและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังปรับสมดุลอารมณ์ ลดความเครียด และส่งเสริมการนอนหลับ
  • การยกน้ำหนักเบาๆ: เช่น การยกน้ำหนักหรือการใช้ยางยืดจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก ลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
  • การว่ายน้ำ: ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น และลดความตึงเครียดของข้อต่อ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดความดันโลหิต และเสริมสร้างความสมดุลของร่างกาย

2. รักษาสมดุลอาหารและโภชนาการ

  • บริโภคอาหารที่มีประโยชน์: เลือกอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่วและเมล็ดพืช เนื้อปลา และแหล่งโปรตีนที่มีไขมันต่ำ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวสูง
  • เสริมแคลเซียมและวิตามินดี: เนื่องจากวัยทองมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ควรเสริมแคลเซียมและวิตามินดีเพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก อาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ นม โยเกิร์ต ปลาแซลมอน และผักใบเขียวเข้ม
  • อาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์: เพื่อช่วยการย่อยอาหารและลดระดับคอเลสเตอรอล เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช
  • ไขมันโอเมก้า-3: ช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย เช่น ปลา ถั่ว อะโวคาโด
  • ดื่มน้ำมาก ๆ: การดื่มน้ำให้เพียงพอช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างเหมาะสมและช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ
  • หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์: อาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์อาจทำให้อาการร้อนวูบวาบแย่ลง จึงควรลดปริมาณการบริโภคลง

3. การจัดการความเครียด

ความเครียดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาการวัยทองรุนแรงขึ้น การฝึกการหายใจลึกๆ การทำสมาธิ และการออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดินเล่น จะช่วยให้จิตใจสงบลงและลดอาการแปรปรวนของอารมณ์ หรือหางานอดิเรกทำ ดูหนัง ฟังเพลง กิจกรรมที่ชอบ ก็จะส่งผลให้ความเครียดลดลง

4. การนอนหลับที่ดี

การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญ การสร้างบรรยากาศที่เงียบสงบก่อนนอนและหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือหรือคาเฟอีนก่อนนอน จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น รวมถึงช่วงเวลาที่ควรนอน โดยพยายามนอนก่อน 5 ทุ่ม และตื่นก่อน 6 โมงเช้า เนื่องจากฮอร์โมนที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายหลั่งมากที่สุดในช่วงกลางดึก ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวก็ควรหลับให้สนิทเพื่อที่ร่างกายจะได้ซ่อมแซมตัวเองเต็มที่

5. การจัดการอาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืน

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี: เลือกเสื้อผ้าที่เบาและหลวม รวมถึงการใช้ผ้าปูที่นอนที่ระบายอากาศได้ดีเพื่อช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ
  • ใช้พัดลมหรือเปิดหน้าต่างให้มีอากาศถ่ายเท: เมื่อมีอาการร้อนวูบวาบ ควรใช้พัดลมช่วยระบายความร้อนหรือเปิดหน้าต่างเพื่อให้มีอากาศหมุนเวียน
  • ฝึกการหายใจลึกและช้า: การฝึกหายใจเข้าลึกและช้าจะช่วยลดอาการร้อนวูบวาบได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดและร้อน: อาหารรสจัดหรือเผ็ดอาจทำให้อาการร้อนวูบวาบรุนแรงขึ้น

6.การตรวจสุขภาพเป็นประจำ

  • ตรวจความหนาแน่นของกระดูก: เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน อย่างการใช้ Dexa Scan ช่วยตรวจ
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก: การตรวจสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง เช่น การตรวจแมมโมแกรมและตรวจภายใน เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจระดับฮอร์โมน: เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงและจัดการอาการวัยทองอย่างเหมาะสม

7. การรักษาและบำบัดด้วยฮอร์โมน

ในกรณีที่อาการวัยทองรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อาจปรึกษาแพทย์ และบำบัดด้วยฮอร์โมน ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ใช้การบำบัดด้วยการทดแทนฮอร์โมน (Hormone Replacement Therapy : HRT) ไม่ว่าจะเป็นแบบฉีด ยาเม็ด แผ่นแปะ เจล ครีม หรือแบบฝังใต้ผิวหนัง ซึ่งจะช่วยชดเชยฮอร์โมนที่ลดลง แต่การรักษานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงและความเสี่ยงต่างๆ เช่น การเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม

8. การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพร

การเลือกทานอาหารเสริมหรือสมุนไพรบางชนิด เช่น แบล็คโคฮอช โสม หรือสารสกัดจากถั่วเหลือง อาจช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ และเสริมสุขภาพโดยรวมได้ แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ จะช่วยให้ดูแลร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รักษาอาการวัยทองในผู้หญิง

ตรวจรักษาและฟื้นฟู วัยทองผู้หญิง ได้ที่ S’RENE by SLC คลินิกสุขภาพสำหรับคนเมือง

ผู้หญิงหมดประจำเดือน มีอาการวัยทอง หรือใกล้เข้าสู่วัยทอง สามารถเข้ารับการตรวจและรักษาได้ที่ S’RENE คลินิกสุขภาพคนเมือง ซึ่งเรามุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม พร้อมวิธีแก้วัยทองผู้หญิง เพื่อให้ผู้หญิงในช่วงวัยทองสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ได้อย่างราบรื่น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยที่นี่มีบริการตรวจสุขภาพฮอร์โมนและให้คำปรึกษาโดยแพทย์ พร้อมแนะนำวิธีการดูแลและจัดการกับอาการวัยทองอย่างเหมาะสม รวมถึงการรักษา และฟื้นฟูสุขภาพฮอร์โมน ซึ่งการบริการครอบคลุมตั้งแต่

📌โปรแกรมการตรวจวัดระดับฮอร์โมน His&Her Wellness Lab Check Up

เพื่อตรวจหาความผิดปกติและประเมินความจำเป็นในการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน พร้อมอ่านผลโดยแพทย์ และแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพและรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลแบบหนึ่งต่อหนึ่ง

📌โปรแกรม IV DRIP ดริปวิตามินเพื่อปรับสมดุล

สำหรับวัยทองหมดประจำเดือนที่ดูแลภายนอกแล้ว อยากดูแลภายในแบบเร่งด่วน สามารถเลือกดริปวิตามินสูตร Vascular & Hormones Therapy ช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือด พร้อมช่วยฟื้นฟูฮอร์โมน ให้กลับมาสมดุล และช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี

📌โปรแกรม S’RENE Hormonal Booster For Women การรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนเพศหญิงด้วย Placenta Therapy

  • ใช้สารสกัดจากรก (Placenta) เพื่อช่วยฟื้นฟูสมดุลฮอร์โมน ด้วยสารอาหาร วิตามิน และฮอร์โมนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ช่วยปรับปรุงสุขภาพผิวพรรณ ให้เปล่งปลั่ง
  • ช่วยเพิ่มพลังงาน และฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ
  • ช่วยปรับอารมณ์ และรักษาภาวะวัยทองของผู้หญิง

📌โปรแกรม Feminine Care ช่วยฟื้นฟูน้องสาวให้ฟิต และชุ่มชื้น

สำหรับผู้ที่มีอาการของผู้หญิงวัยทอง โดยเฉพาะปัญหาของน้องสาวที่ไม่กระชับ ยืดหยุ่น และแห้ง ขอแนะนำการรีแพร์น้องสาวแบบไม่ต้องผ่าตัด ด้วยการรักษากับ INDIBA Deep Care นวัตกรรมคลื่นวิทยุความถี่เฉพาะ 448 kHz ช่วยกระตุ้นให้เนื้อเยื่อในช่องคลอด ผลิตคอลลาเจนและปรับปรุงความยืดหยุ่น รวมถึงเพิ่มความชุ่มชื้นในช่องคลอด โดยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่และเพิ่มการไหลเวียนเลือด พร้อมช่วยกระชับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน กระชับช่องคลอดและช่วยเพิ่มความมั่นใจในสุขภาพทางเพศมากขึ้น

📌โปรแกรม Magneto STYM™ Therapy for Women ดูแลสุขภาพน้องสาว

การรักษาและฟื้นฟูสุขภาพของน้องสาว กับการนั่งเครื่อง Magneto ที่มีการใช้นวัตกรรมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อแกนกลางและสะโพก รวมถึงอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง ส่งผลให้อาการอุ้งเชิงกรานหย่อนดีขึ้น ช่วยยกกระชับมดลูก ลดอาการฉี่เล็ด แถมยังช่วยให้น้องสาวกระชับ และมีความรู้สึกที่ดีขึ้น

  • ใช้เวลาไม่นาน นั่งแค่ไม่กี่นาที ไม่ต้องถอดเสื้อผ้า
  • ราคา 2,500 บาท / ครั้ง

สำหรับผู้ที่สนใจตรวจวัดระดับฮอร์โมน และรักษาอาการวัยทอง สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายการตรวจได้ที่ S’RENE คลินิกสุขภาพคนเมือง สำหรับการดูแลสุขภาพในทุกช่วงวัยอย่างครอบคลุมได้ทุกสาขา

▪️ สาขา ทองหล่อ – โทร 064 184 5237
▪️ สาขา พาราไดซ์ พาร์ค ชั้น 3 – โทร 081 249 7055
▪️ สาขา เซ็นทรัลลาดพร้าว ชั้น 6 – โทร 080 245 7669

________________________________________________________

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Mayo Clinic. (n.d.). Menopause: Symptoms & causes. Mayo Clinic.
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menopause/symptoms-causes/syc-20353397

NHS. (n.d.). Menopause – Symptoms. NHS.
https://www.nhs.uk/conditions/menopause/symptoms/

World Health Organization. (n.d.). Menopause. World Health Organization.
https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/menopause

Cleveland Clinic. (n.d.). Menopause. Cleveland Clinic.
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21841-menopause

NHS. (n.d.). Menopause. NHS.
https://www.nhs.uk/conditions/menopause/

สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่