เมื่อก่อนเราจะเคยชินว่าโรคหัวใจส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเฉพาะผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันพบว่าโรคหัวใจเกิดขึ้นกับคนที่อายุน้อยเป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งโรคหัวใจถือว่าเป็นหนึ่งโรคที่มีความอันตรายและน่ากลัวไม่ใช่น้อย เชื่อว่าถ้าเป็นไปได้ไม่มีใครอยากเป็นโรคหัวใจอย่างแน่นอน โดยอัตราการเป็นโรคหัวใจก็ถูกพบว่ามีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อมต่างๆ รวมไปถึงการละเลยในการตรวจสุขภาพประจำปี และนี่เลยเป็นเหตุผลที่อยากแนะนำการตรวจเช็คสุขภาพหัวใจด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG เป็นการตรวจวัดคลื่นหัวใจเช็คความผิดปกติของการเต้นหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) คืออะไร?
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography : EKG) คือ อธิบายแบบง่าย ๆ ให้เห็นภาพ หัวใจเราเหมือนวงจรไฟฟ้า การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ก็เหมือนการตรวจสอบว่าวงจรไฟฟ้าของหัวใจทำงานเป็นปกติหรือเปล่า ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนี่เป็นการตรวจจับสัญญาณของหัวใจในแต่ละจังหวะการเต้น เพื่อเช็คหาความผิดปกติของหัวใจหรือหาความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และยังวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อหัวใจได้ด้วย เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจโต ความเสี่ยงการเกิดหัวใจล้มเหลว ภาวะความดันโลหิตสูง
การตรวจ EKG จึงเป็นหนึ่งทางเลือกในการเช็คว่าหัวใจยังทำงานเป็นปกติอยู่ นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน และเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนี่ยังแสดงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ การไหลเวียนของโลหิตบริเวณหัวใจที่ทำให้บอกได้ว่าหัวใจกำลังขาดเลือดอยู่ไหม ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจ ความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดและตำแหน่งของห้องหัวใจที่แสดงผลได้ว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนา กล้ามเนื้อหัวใจโต หรือห้องหัวใจโตอยู่หรือเปล่า
ใครบ้างที่ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ?
- ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
- ผู้ที่มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะ มีอาการวูบหน้ามืด
- ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง
- ผู้ที่มีเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน
- ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
- ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ควรได้รับการตรวจสุขภาพหัวใจก่อน
การวินิจฉัยผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
หลังจากได้กราฟผลลัพธ์การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยเครื่อง EKG แล้ว แพทย์จะเช็คอัตราการเต้นของหัวใจว่ามีความสม่ำเสมอเป็นปกติไหม มีหัวใจที่เต้นผิดจังหวะหรือเปล่า (อัตราการเต้นของหัวใจที่ปกติจะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที อัตราการเต้นหัวใจเร็วจะมากกว่า 100 ครั้ง/นาที และอัตราการเต้นหัวใจช้าจะอยู่ที่ 30-40 ครั้ง/นาที) และนอกจากนี้กราฟไฟฟ้าหัวใจยังบอกถึงความสัมพันธ์ในการทำงานของหัวใจห้องบนและห้องล่างว่ามีความผิดปกติหรือไม่ด้วย โดยผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจดูจากกราฟได้ง่ายๆ ดังนี้
- ห้องหัวใจส่วนบน เป็นจุดเริ่มต้นของการเต้นของหัวใจ สร้างคลื่นลูกแรก หรือ “คลื่น P”
- ห้องหัวใจส่วนล่าง จะสร้างคลื่นถัดไปที่เรียกว่า QRS complex
- คลื่นสุดท้ายหรือ “คลื่น T” จะแสดงถึงหัวใจที่ได้พักหรือฟื้นตัวหลังจากการเต้น
ทั้งนี้กราฟผลลัพธ์จะถูกนำไปประกอบในการวินิจฉัยโรคหรือภาวะทางหัวใจอื่น ๆ ได้ ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ บอกอะไรได้บ้าง
- กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
- กล้ามเนื้อหัวใจโตหรือหนา
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทั้งแบบเร็วผิดปกติ หรือแบบช้าผิดปกติ
- หลอดเลือดหัวใจตีบ
- เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- ความผิดปกติของเกลือแร่
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- ผู้ที่จะรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถถอดออกได้ง่าย หรือชุดที่สามารถเปิดบริเวณหน้าอกได้ง่าย
- ไม่ต้องงดน้ำและอาหารก่อนเข้าตรวจ
- ไม่สวมอุปกรณ์โลหะในขณะที่ตรวจ
- ผู้ที่เข้ารับการตรวจควรเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ เพราะอาจจะทำให้ผลลัพธ์คาดเคลื่อนได้
- แจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่หากมีโรคประจำตัว
- แจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่หากมีการรับประทานยาเป็นประจำ หรือรับประทานอาหารเสริม
ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ผู้เข้ารับบริการนอนหงายบนเตียง
- วิธีตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเริ่มจากพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่จะติดตัวรับกระแสไฟฟ้าบนตัวผู้รับบริการในบริเวณหน้าอก 6 จุด แขนและขาอีก 4 จุด โดยอุปกรณ์ไม่มีผลต่อร่างกายและไม่มีความเจ็บปวดใดๆ
- ในระหว่างการตรวจคลื่นไฟฟ้า ผู้รับบริการควรอยู่ให้นิ่งที่สุด โดยในการตรวจจะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
- ผลลัพธ์จะปรากฏบนหน้าจอ และจะถูกพิมพ์ออกมาให้แพทย์ทำการวิเคราะห์ผล
ข้อดีของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- ใช้เวลาไม่นาน เพียง 5-10 นาที
- สามารถตรวจได้ทุกช่วงวัย
- ขณะตรวจไม่เจ็บ
- ใช้วินิจฉัยและบอกความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้
คำถามที่พบบ่อย
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเจ็บไหม
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ เลย
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจใช้เวลานานไหม
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะใช้เวลาโดยประมาณ 5-10 นาที
การตรวจคลื่นไฟฟ้า ผลข้างเคียง
การตรวจคลื่นไฟฟ้าไม่มีผลข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อผู้รับบริการ อาจจะเกิดจุดแดงเป็นรอยบริเวณที่แปะเครื่องตรวจ แต่รอยแดงจะค่อย ๆ จางหายไปได้เอง
การตรวจคลื่นไฟฟ้า ตรวจได้บ่อยแค่ไหน
เมื่อรู้สึกถึงความผิดปกติบริเวณหน้าอก เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สามารถเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ทันที แต่หากไม่มีอาการผิดปกติ แนะนำให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจปีละ 1 ครั้ง
คนตั้งครรภ์สามารถตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ไหม
ผู้ที่ตั้งครรภ์สามารถรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ปกติ
ตรวจคลื่นไฟฟ้าที่คลินิกสุขภาพ S’RENE
จากที่ได้กล่าวมาตอนต้นว่ามีผู้ที่เป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นและมีอายุที่น้อยลง ซึ่งจะดีกว่าไหมถ้าสามารถตรวจหาความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่ช่วยหาความผิดปกติหรือความเสี่ยงของโรคหัวใจ และยังช่วยวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อหัวใจได้ด้วย และที่ S’RENE ก็มีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) พร้อมกับมีแพทย์ที่จะช่วยวิเคราะห์ผลการตรวจในเบื้องต้นได้ด้วย และนอกจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG แล้วที่ S’RENE ก็ยังมีการตรวจ ABI เป็นการวัดอายุของหลอดเลือดที่ก็จะช่วยบอกความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดคิวปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ S’RENE by SLC ได้ที่
- สาขาทองหล่อ โทร 064 184 5237
- สาขาชาน แจ้งวัฒนะ โทร 099 807 7261
- Line: @SRENEbySLC หรือคลิก https://bit.ly/3IlXtvw
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Electrocardiogram (ECG or EKG). Mayo Clinic Staff. Mayo Clinic.https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/ekg/about/pac-20384983
Electrocardiogram (EKG). Cleveland Clinic.https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/16953-electrocardiogram-ekg
Electrocardiogram (ECG). NHS.https://www.nhs.uk/conditions/electrocardiogram/
Electrocardiograms (ECG or EKG). WebMD Editorial Contributors. WebMD.https://www.webmd.com/heart-disease/electrocardiogram-ekgs
สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่