เรื่องน่ารู้

Blogs

เครียดจนอ้วน น้ำหนักขึ้น ทำไมความเครียดถึงทำให้อ้วนโดยไม่รู้ตัว?

เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางทีเครียดหนัก ๆ แล้ว น้ำหนักขึ้น แบบไม่รู้ตัว? ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเร่งรีบและความกดดันในชีวิตประจำวัน ความเครียด กลายเป็นเหมือนเพื่อนร่วมทางที่เราไม่อยากเจอ แต่รู้ไหมว่า ความเครียดไม่ได้แค่ทำให้จิตใจหม่นหมองหรือคิดมากเท่านั้น มันยังเป็นตัวการที่แอบทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

น้ำหนักขึ้น โดยไม่รู้ตัว อาจไม่ได้มาจากการกินเยอะอย่างเดียว แต่มาจากความเครียดในชีวิตประจำวันส่วนหนึ่ง หลายคนอาจรู้สึกว่า ทั้งที่พยายามควบคุมอาหารและออกกำลังกาย แต่ทำไมน้ำหนักถึงยังพุ่งขึ้นไม่หยุด? วันนี้เราจะพามาเจาะลึกถึงสาเหตุ พร้อมวิธีรับมือกับปัญหา เครียดจนน้ำหนักขึ้น เพื่อให้คุณกลับมาควบคุมน้ำหนักได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง!

หลักการทำงานของความเครียดในร่างกาย

เมื่อเราเผชิญกับความเครียด ร่างกายจะตอบสนองด้วยการหลั่ง ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนตัวนี้ถูกเรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งความเครียด” ซึ่งในภาวะปกติ ฮอร์โมนนี้จะมีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เพิ่มพลังงานให้ร่างกายพร้อมสู้หรือหนี (Fight or Flight)

แต่ถ้าระดับคอร์ติซอลสูงขึ้นนานเกินไป เช่น ในกรณีของความเครียดเรื้อรัง อาจจะกลายเป็นตัวการที่ก่อให้เกิด ไขมันสะสม โดยเฉพาะบริเวณ หน้าท้อง รวมถึงเพิ่มความอยากอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และยังส่งผลต่อพฤติกรรมอื่น ๆ อีกด้วย

 

ความเครียดทำให้อ้วน หรือ น้ำหนักขึ้น ได้ยังไง?

แน่นอนว่าเมื่อเราเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่ส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย และยังส่งผลต่อน้ำหนักและพฤติกรรมการกินโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น

  1. การกินแก้เครียด (Emotional Eating): หลายคนใช้การกินเป็นวิธีบรรเทาความเครียด เพราะรู้สึกว่าการกินของอร่อย เช่น ชานมไข่มุก พิซซ่า หรือขนมหวาน จะช่วยบรรเทาความเครียดชั่วคราว รวมไปถึงอาจหยิบขนมกรุบกรอบหรือไอศกรีมมานั่งกินระหว่างทำงาน โดยไม่รู้ตัวว่าอาจกินมากเกินความต้องการ 
  2. กระตุ้นความอยากอาหารมากขึ้น: คอร์ติซอลทำให้ร่างกายอยากอาหารที่มีแคลอรีสูง จะกระตุ้นให้เราหาอาหารที่เพิ่มพลังงานด่วน ๆ เช่น ของหวาน อาหารไขมันสูง หรืออาหารฟาสต์ฟู้ด เพื่อใช้พลังงานและลดความเครียด ซึ่งอาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้นในระยะสั้น แต่เป็นต้นเหตุของไขมันสะสมในระยะยาว
  3. กินจุกจิกไม่รู้ตัว: เมื่อจิตใจหมกมุ่นกับปัญหา เราอาจเผลอกินของว่างโดยไม่รู้ตัว
  4. ลดประสิทธิภาพระบบเผาผลาญพลังงาน: ความเครียดทำให้ระบบเผาผลาญทำงานลดลง หรือช้าลง ร่างกายจึงเก็บสะสมไขมันได้ง่ายขึ้นและมากกว่าการเผาผลาญ 
  5. ส่งผลต่อการนอนหลับ คนเครียดมักนอนหลับยากหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ การพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้ฮอร์โมนเกรลิน ซึ่งทำให้ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) หรือฮอร์โมนกระตุ้นความหิวเพิ่มขึ้น และเลปติน  (Leptin) หรือฮอร์โมนควบคุมความอิ่มลดลง ทำให้รู้สึกหิวบ่อยและอยากกินบ่อยขึ้น
  6. ส่งผลต่อการสะสมไขมันในช่องท้อง: คอร์ติซอลมีผลโดยตรงต่อการสะสมไขมันบริเวณช่องท้อง (Visceral Fat) ทำให้เกิด อ้วนลงพุง
  7. ลดการออกกำลังกาย: เมื่อเครียด หลายคนมักไม่มีอารมณ์หรือพลังงานในการออกกำลังกาย ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการใช้พลังงานที่น้อยลง

 

ความเครียดสะสมอาจนำไปสู่โรคอ้วนได้อย่างไร?

  • ไขมันพอกตับ: ความเครียดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดไขมันพอกตับได้ง่าย
  • เบาหวานชนิดที่ 2: ฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินผิดปกติ
  • ไขมันสะสมในอวัยวะสำคัญ: เช่น หัวใจ ตับ และหลอดเลือด

 

แนวทางป้องกันความเครียดไม่ให้ทำร้ายหุ่นสวย

1. ออกกำลังกายคลายเครียด

การออกกำลังกายช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและเพิ่มสารเอ็นโดรฟิน (Endorphins) หรือ “ฮอร์โมนแห่งความสุข” ควรออกกำลังกายแบบสนุก ๆ เช่น วิ่งเบา ๆ เดินเล่น เต้นซุมบ้า หรือโยคะ

2. เลือกกินอาหารที่ช่วยลดเครียด

ปรับการกินให้สมดุล เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผลไม้สด อัลมอนด์ ดาร์กช็อกโกแลต หลีกเลี่ยงของหวานหรือขนมจุกจิกที่มักกินเวลาเครียด อย่างน้อยลองเลือกทานอาหารตามนี้ จะช่วยลดความเครียดได้ในระดับนึง

  • อาหารที่มี โอเมก้า-3 เช่น ปลาแซลมอน
  • ดาร์กช็อกโกแลต ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน
  • ผักใบเขียวที่มีแมกนีเซียม

3. ฝึกสมาธิและหายใจลึก ๆ

การนั่งสมาธิหรือฝึกหายใจช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอลและทำให้จิตใจสงบ ใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีในแต่ละวันเพื่อฝึกสมาธิหายใจลึก ๆ อย่างช้า ๆ ช่วยให้จิตใจสงบและลดคอร์ติซอล

4. นอนหลับให้เพียงพอ

ควรนอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้สงบ เช่น ปิดไฟหรือใช้กลิ่นหอมอ่อน ๆ รวมถึงปิดหน้าจอมือถือหรือทีวีก่อนเข้านอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

5. ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย

หากิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด ทำสิ่งที่ชอบ เช่น วาดรูป ฟังเพลงโปรด อ่านหนังสือ หรือปลูกต้นไม้ ใช้เวลากับครอบครัวหรือสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงหางานอดิเรกใหม่ ๆ ที่ทำให้เพลิดเพลิน 

6. ปรึกษาแพทย์และควบคุมน้ำหนักที่ S’RENE by SLC

หากรู้สึกว่าความเครียดเกินจะรับมือ ลองพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือแพทย์ที่สามารถแนะนำวิธีจัดการได้อย่างเหมาะสม พูดคุยหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หรือถ้า น้ำหนักขึ้น ลดไม่ลง สามารถเข้าร่วมโปรแกรม Weight Management 1 เดือน และ 3 เดือน ควบคุมน้ำหนักอย่างปลอดภัยและยั่งยืน พร้อมคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน กับทาง S’RENE by SLC เพื่อหาทางออกและวางแผนการควบคุมน้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพ การใช้ปากกาควบคุมความหิว ที่เป็นตัวช่วยในการปรับพฤติกรรมการกิน และโปรแกรมอื่น ๆ ที่จะร่วมเดินทางสู่รูปร่างที่ใฝ่ฝันไปด้วยกัน

📌โปรแกรม Weight Management 1 เดือน

📌โปรแกรม Weight Management 3 เดือน

S'RENE by SLC

สรุปว่า ความเครียดกับความอ้วน เราสามารถจัดการได้ ถ้าทำความเข้าใจ!

ความเครียดอาจดูเหมือน “เพื่อนตัวร้าย” แต่ทุกคนสามารถจัดการได้ด้วยวิธีที่เรียบง่ายและสนุกสนาน หมั่นดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจ การปรับพฤติกรรมง่าย ๆ เหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดน้ำหนัก แต่ยังทำให้ทุกคนสุขภาพดีขึ้นแบบองค์รวมด้วยอย่าปล่อยให้ความเครียดทำลายสุขภาพและทำให้ น้ำหนักขึ้น เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ตั้งแต่วันนี้ แล้วสุขภาพดีและความสุขจะอยู่ใกล้แค่เอื้อม

หากสนใจโปรแกรมควบคุมน้ำหนัก หรือมีปัญหาสุขภาพด้านไหน สามารถเข้ามาปรึกษา S’RENE by SLC – Urban Wellness Clinic คลินิกที่พร้อมดูแลทุกเรื่องสุขภาพของคนเมืองอย่างคุณ โดยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือจองคิวได้ที่ 

▪️ สาขา ทองหล่อ ชั้น 4 – โทร 064 184 5237

▪️ สาขา ชาน แจ้งวัฒนะ 14 ชั้น 2 – โทร  099 807 7261

▪️ สาขา พาราไดซ์ พาร์ค ชั้น 3 – โทร  081 249 7055

▪️ สาขา เซ็นทรัลลาดพร้าว ชั้น 6 – โทร 080 245 7669

สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่