เรื่องน่ารู้

Blogs

ไขมันสะสมในช่องท้อง มีแล้วเสี่ยงเกิดโรคอะไรบ้าง?!

ไขมันสะสมในช่องท้อง หรือ ที่เรียกกันว่า Visceral Fat เป็นหนึ่งในปัญหาที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกต แม้ว่าภายนอกจะดูไม่ได้มีน้ำหนักเกินมากนัก แต่ภายในร่างกายอาจมีไขมันสะสมอยู่รอบอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ กระเพาะอาหาร และลำไส้ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจถึง ความเสี่ยงจาก ไขมันสะสมในช่องท้อง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมแนะนำแนวทางในการดูแลสุขภาพเพื่อลดไขมันสะสมลึกให้ดีขึ้น

การที่มี ไขมันสะสมในช่องท้อง หรือ Visceral Fat คืออะไร? อันตรายมั้ย?

ไขมันในช่องท้อง หรือ Visceral Fat เป็นไขมันที่สะสมลึกอยู่ภายในร่างกาย โดยจะเกาะรอบอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ และตับอ่อน แตกต่างจาก ไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat) ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ ไขมันในช่องท้องมักเป็นไขมันที่ซ่อนอยู่ภายในและส่งผลกระทบต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย

ซึ่งการสะสมไขมันในช่องท้องเนี่ย อันตรายกว่าที่คิด! เพราะไขมันชนิดนี้ไม่ได้อยู่แค่ใต้ผิวหนังเหมือนพุงนิ่ม ๆ ที่เราจับได้ แต่มัน สะสมอยู่ลึกภายในช่องท้อง ระหว่างอวัยวะสำคัญ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันพอกตับ นอกจากนี้ ยังเป็นตัวการที่ทำให้ ฮอร์โมนไม่สมดุล และการอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น ดังนั้น การกำจัดไขมันในช่องท้องจึงไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงาม แต่เป็นการดูแลสุขภาพในระยะยาว เพื่อป้องกันโรคร้ายแรงและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ไขมันสะสมในช่องท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร เจ้าไขมันนี้มาจากไหน?

การที่มี ไขมันสะสมในช่องท้อง นั้นหลัก ๆ แล้วมาจากพฤติกรรมของเรา แต่ก็สามารถเกิดการสะสมขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • พฤติกรรมการกิน – การบริโภคอาหารที่มีแคลอรีสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและน้ำตาล
  • การขาดการออกกำลังกาย – ทำให้พลังงานที่ได้รับสะสมเป็นไขมันแทนการเผาผลาญ
  • ความเครียด – ส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสะสมไขมัน
  • อายุที่เพิ่มขึ้น – ระบบเผาผลาญอาจลดลง ส่งผลให้เกิดการสะสมของไขมันได้ง่ายขึ้น

ความเสี่ยงจากการสะสมของไขมันในช่องท้อง

1. เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

ไขมันในช่องท้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด หากมีปริมาณมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และความดันโลหิตสูง

2. ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด และภาวะดื้อต่ออินซูลิน

ไขมันในช่องท้องอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของ โรคเบาหวานประเภทที่ 2

3. มีผลต่อการทำงานของตับ

เมื่อมีไขมันสะสมในช่องท้องมากขึ้น ตับอาจได้รับผลกระทบและเกิดภาวะ ไขมันพอกตับ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease – NAFLD) ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะตับอักเสบ และมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคตับแข็ง

4. ส่งผลต่อระบบเผาผลาญ และทำให้ดูแลน้ำหนักได้ยากขึ้น

ไขมันในช่องท้องเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนหลายชนิด เช่น เลปติน (Leptin) และอะดิโพเนคติน (Adiponectin) ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมความอยากอาหารและระบบเผาผลาญ หากไขมันสะสมมากขึ้น ระบบเผาผลาญอาจทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้การดูแลน้ำหนักได้ยากขึ้น

5. เพิ่มโอกาสเกิดโรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome)

โรคอ้วนลงพุง เป็นภาวะที่ประกอบไปด้วยปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง และระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด

6. อาจส่งผลต่อสมดุลของฮอร์โมน และภาวะเครียดเรื้อรัง

ไขมันในช่องท้องสามารถกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน คอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเครียด หากมีระดับคอร์ติซอลสูงขึ้น อาจส่งผลต่ออารมณ์และการทำงานของร่างกายโดยรวม

วิธีจัดการไขมันในช่องท้องเบื้องต้น

1. ปรับพฤติกรรมการกิน

  • ลดการบริโภคน้ำตาล และอาหารที่มีไขมันทรานส์
  • เน้นอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช
  • เลือกโปรตีนที่ดี เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว และถั่วต่าง ๆ

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  • 🏃‍♀ คาร์ดิโอ (Cardio) เช่น เดินเร็ว วิ่ง หรือปั่นจักรยาน ช่วยเผาผลาญไขมัน
  • 🏋️‍♂ เวทเทรนนิ่ง (Weight Training) ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มอัตราการเผาผลาญ

3. ลดความเครียด และนอนหลับให้เพียงพอ

  • 😌 ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ หรือโยคะ
  • 😴 นอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน เพื่อลดระดับคอร์ติซอล

4. พิจารณาทางเลือกในการดูแลเพิ่มเติม

สำหรับผู้ที่ต้องการทางเลือกเพิ่มเติม อาจมีเทคนิคที่ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน ช่วยจัดการไขมันอย่าง Visceral Fat Care Program ที่มีการใช้เทคโนโลยีความถี่ 448 กิโลเฮิรตซ์ ในการฟื้นฟู และช่วยจัดการไขมันในช่องท้องได้ หรือเข้ารับการตรวจ Dexa Scan เพื่อวางแผนในการดูแลสุขภาพได้

สรุปว่า ควรจัดการไขมันในช่องท้องอย่างไรดี?

ไขมันในช่องท้องเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในหลายด้าน และไม่ได้หมายความว่าจะมีแต่เฉพาะคนอ้วนเท่าไหร่ แต่คนผอมก็สามารถเกิด ไขมันสะสมในช่องท้อง ได้ไม่ต่างจากคนอ้วน ทำให้การดูแลและลดไขมันสะสมลึก ควรเริ่มจาก การปรับพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และจัดการความเครียด หากต้องการแนวทางเพิ่มเติม การเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ หรือคลินิกดูแลสุขภาพ อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมกับร่างกายและเป้าหมายของแต่ละบุคคล

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาทางเลือกในการดูแลสุขภาพภายในเพิ่มเติม อย่าง Visceral Fat Care Program สามารถปรึกษากับแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน รวมถึงนักกายภาพบำบัด เพื่อประเมินแนวทางในการฟื้นฟูที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ที่ S’RENE by SLC คลินิกสุขภาพสำหรับคนเมืองได้ทุกสาขา

▪️ สาขา ทองหล่อ ชั้น 4 – โทร 064 184 5237

▪️ สาขา ชาน แจ้งวัฒนะ 14 ชั้น 2 – โทร  099 807 7261

▪️ สาขา พาราไดซ์ พาร์ค ชั้น 3 – โทร  081 249 7055

▪️ สาขา เซ็นทรัลลาดพร้าว ชั้น 6 – โทร 080 245 7669

สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่