สวัสดี หนุ่ม ๆ สาว ๆ ชาวออฟฟิศ และชาวปวดทั้งหลาย แอดเชื่อว่าหลาย ๆ คน กำลังประสบอยู่กับปัญหาโรคยอดฮิต อย่าง “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” อาการปวดเรื้อรังที่พบได้ทั่วไปในผู้ที่ทำงานออฟฟิศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเคยประสบพบเจอกันมาบ้าง บางคนก็มีอาการหนัก บางคนหายแล้ว ก็กลับมาเป็นใหม่ ถือว่าเป็นโรคเรื้อรังชนิดนึงเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานหน้าจอในออฟฟิศเป็นเวลานาน ๆ หรือ การใช้เวลานานในท่าทางเดิม ๆ จนทำให้เกิดอาการปวดได้โดยไม่รู้ตัว
แหมก็อยู่ในยุค 2024 นี้ เรื่องปวดเป็นเรื่องธรรมดา ก็ทน ๆ ไปสิ ใครพูดอย่างนี้ใส่ ก็เตรียมกรี๊ดได้เลย เพราะเราจะไม่ทนค่า! งานนี้ แอดเลยขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคนี้ รวมถึงวิธีการดูแล ป้องกัน และการรักษา เพื่อให้ทุกคนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม เพราะถ้าหากทิ้งไว้ หรือปล่อยปละละเลยไว้นาน ก็อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร ใครยังไม่รู้บ้าง?
ออฟฟิศซินโดรม คือกลุ่มของอาการปวดเรื้อรังที่เกิดจากการทำงานในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง หรือมีการใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม อาการที่พบบ่อย ๆ ก็ได้แก่ ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดตา และอาการปวดหัวเรื้อรังอื่น ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดจากการนั่งทำงานที่โต๊ะคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนท่าทาง หรือพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยทำซ้ำ ๆ กันนาน ๆ จนชิน หรือไม่รู้ตัว เลยเกิดเป็นอาการปวดเรื้อรังนั้นเอง
สำหรับผู้ที่มีโอกาสเป็น Office Syndrome หลัก ๆ ก็ได้แก่ พนักงานออฟฟิศ นักศึกษา และบุคคลที่ใช้เวลานั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นพนักงานออฟฟิศเพียงอย่างเดียว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยทำงาน หรือกลุ่มนักศึกษา ที่จะมีโอกาสเป็นได้สูงกว่าบุคคลทั่วไป
สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด Office Syndrome
1. การนั่งนานโดยไม่เปลี่ยนท่าทาง
การนั่งนานเกินไปโดยไม่ลุกขึ้นขยับตัวหรือเปลี่ยนท่าทางเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อ การนั่งเก้าอี้ที่ไม่รองรับกับสรีระร่างกาย หรือการจัดท่านั่งที่ไม่ถูกต้องก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียดจนเกิดอาการได้
2. การใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มากเกินไป
การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการตึงเครียดที่บริเวณกล้ามเนื้อคอและไหล่ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสายตา ซึ่งเป็นปัจจัยที่เสริมให้เกิด Office Syndrome ได้ง่ายขึ้น
3. ท่าทางที่ไม่ถูกต้องในการทำงาน
การจัดโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกหลัก เช่น จอคอมพิวเตอร์วางสูงหรือต่ำเกินไป เก้าอี้ที่ไม่มีการปรับระดับหรือไม่มีการรองรับหลังอย่างเหมาะสม ทำให้ร่างกายต้องปรับท่าทางที่ผิดๆ ในการทำงาน จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
4. ความเครียดจากการทำงาน
ความเครียดสะสมจากการทำงาน ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสุขภาพจิต แต่ยังสามารถทำให้ร่างกายเกิดความเครียดในกล้ามเนื้อ เช่น คอ ไหล่ และหลัง ซึ่งจะทำให้เกิด Office Syndrome ได้
5. การพักผ่อนไม่เพียงพอ
การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้ไม่เต็มที่ และทำให้กล้ามเนื้อเกิดความอ่อนล้าจากการทำงานหนักต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในออฟฟิศที่ต้องนั่งหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
6. การขาดการออกกำลังกาย
การไม่ได้ออกกำลังกายหรือการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอทำให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงและขาดความยืดหยุ่น เมื่อกล้ามเนื้อไม่ได้รับการใช้งานอย่างเหมาะสม จะทำให้มีโอกาสเกิดอาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานในท่าทางเดิมนานๆ มากขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ดังนั้น การไม่ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิด Office Syndrome ได้
อาการของ Office Syndrome คุณกำลังมีอาการพวกนี้อยู่หรือไม่?
สำหรับอาการของ Office Syndrome สามารถมีอาการที่แสดงออกมากได้หลากหลาย เกิดขึ้นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งาน โดยอาการหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยมีดังนี้:
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ: เป็นอาการปวดเมื่อยที่พบบ่อยคือบริเวณคอ ไหล่ หลัง และบ่า เนื่องจากการนั่งทำงานในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อบริเวณเหล่านี้จึงเกิดความตึงเครียดหรือเกร็ง จนทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง
- ปวดศีรษะ: การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะอาการปวดที่เกิดจากความเครียด ความล้า หรือการใช้สายตามากเกินไป รวมถึงอาการไมเกรนที่รุนแรงได้
- อาการชาตามมือและแขน: บางครั้งผู้ที่มี Office Syndrome อาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงบริเวณมือ แขน และนิ้ว เนื่องจากการกดทับของเส้นประสาทบริเวณคอหรือไหล่ ที่เกิดจากท่าทางที่ไม่เหมาะสมในขณะทำงาน
- อาการปวดหลัง: อาการปวดหลังส่วนล่างมักเกิดจากการนั่งนานในท่าที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังและอาจลามไปที่สะโพกหรือต้นขาได้
- สายตาล้า: การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์นานเกินไปทำให้เกิดอาการตาล้า ตาพร่ามัว หรือปวดรอบดวงตา นอกจากนี้ยังอาจมีอาการตาแห้งจากการไม่กะพริบตาเพียงพอ
- สมาธิลดลง: ผู้ที่มี Office Syndrome มักรู้สึกเหนื่อยล้าและไม่มีสมาธิในการทำงาน อาจมีความเครียดสะสมหรือรู้สึกอ่อนเพลียได้ง่าย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
- อาการเวียนศีรษะหรือบ้านหมุน: อาการนี้อาจเกิดจากความเครียดสะสมหรือปัญหาการไหลเวียนของเลือดที่ไม่ดีจากการนั่งนานๆ ทำให้เกิดความรู้สึกเวียนศีรษะหรืออาการบ้านหมุนได้
- อาการปวดร้าวจากเส้นประสาท: ในบางกรณี อาจมีอาการปวดร้าวที่ลามจากคอไปยังไหล่ แขน หรือหลัง เนื่องจากการกดทับของเส้นประสาท อาการนี้อาจทำให้รู้สึกชาและอ่อนแรงได้
การป้องกัน Office Syndrome ทำได้ด้วยตัวเองไม่ยากอย่างที่คิด!
การป้องกัน Office Syndrome สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานและการดูแลสุขภาพ ดังนี้
1. ปรับท่านั่งในการทำงานให้เหมาะสม
เรื่องท่านั่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ควรนั่งในท่าทางที่ถูกต้อง โดยให้หลังตรงและขนานกับพนักเก้าอี้ แล้วให้วางเท้าราบกับพื้น หรือใช้ที่รองเท้าเพื่อปรับระดับให้เหมาะสม และจัดจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา ไม่ควรให้สูงหรือต่ำเกินไป
2. ยืดกล้ามเนื้อและขยับร่างกายเป็นประจำ
อย่างน้อยควรลุกขึ้นเดินหรือยืดกล้ามเนื้อทุกๆ 30-60 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย หรือจะเน้นไปที่การทำท่าออกกำลังกายเบา ๆ เช่น หมุนคอ ยืดไหล่ หรือบิดตัว ก็สามารถช่วยลดอาการปวดเมื่อยได้ในระหว่างวัน
3. ปรับอุปกรณ์ในการทำงานให้เหมาะสม
เลือกใช้เก้าอี้ที่รองรับสรีระของร่างกายและสามารถปรับระดับได้ วางแป้นพิมพ์และเมาส์ให้อยู่ในตำแหน่งที่มือและแขนอยู่ในแนวธรรมชาติ ไม่ควรต้องยกไหล่หรือก้มหลัง รวมถึงใช้ขาตั้งหรือปรับระดับจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตาเพื่อลดการก้มคอ ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดออฟฟิศซินโดรมได้
4. พักสายตา
ให้ใช้กฎ 20-20-20 ก็คือมีการพักสายตาในทุกๆ 20 นาที มองไปที่จุดที่ห่างออกไปอย่างน้อย 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อลดอาการสายตาล้าและตาแห้ง รวมถึงปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ไม่ควรจ้องหน้าจอที่สว่างหรือมืดเกินไป
5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นของร่างกาย ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิด Office Syndrome หรือออกกำลังกายที่เน้นความแข็งแรงของแกนกลางลำตัว เช่น โยคะ พิลาทิส หรือการฝึกความยืดหยุ่นจะช่วยป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานนาน ๆ ได้ดี
6. จัดการกับความเครียด
การทำงานในสภาวะที่มีความเครียดสะสมส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัวและเกิดอาการปวดได้ง่าย ควรจัดการความเครียดด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การหายใจลึกๆ การนั่งสมาธิ หรือการออกกำลังกายเพื่อลดความเครียด
7. จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม
ควรจัดพื้นที่ทำงานให้มีแสงสว่างเพียงพอและถูกหลักสรีรศาสตร์ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในท่าทางที่ผ่อนคลายระหว่างการทำงาน
วิธีรักษาอาการ Office Syndrome
การรักษาอาการปวด Office Syndrome นั้นมีหลากหลายวิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด และลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อได้ แต่ก็จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และสภาพร่างกายของแต่ละคน รวมไปถึงการใช้ชีวิต หากยังคงมีพฤติกรรมเดิม ๆ ก็อาจจะทำให้กลับมามีอาการปวดแบบเดิมได้ ซึ่งการรักษาหลัก ๆ ก็จะแบ่งออกเป็น
- ทำกายภาพบำบัด: การทำกายภาพบำบัดช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อและกระดูก โดยผู้เชี่ยวชาญจะออกแบบท่าบริหารเฉพาะสำหรับบรรเทาอาการปวดในจุดต่างๆ เช่น คอ ไหล่ และหลัง
- นวดและบำบัดกล้ามเนื้อ: สามารถช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ การนวดแผนไทย หรือนวดแผนปัจจุบันสามารถช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงตัวได้ดี
- ใช้ยาช่วย: ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรง แพทย์อาจให้ยาลดปวดกล้ามเนื้อ ยาแก้อักเสบ หรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการ แต่การใช้ยาควรอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น
- ฝังเข็ม: การฝังเข็มเป็นการรักษาแบบทางเลือกที่ได้รับความนิยมในการบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง โดยจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและเพิ่มการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อที่ตึงเครียด
- ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วย: การรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การใช้คลื่นอัลตราซาวด์เพื่อบำบัดกล้ามเนื้อที่ตึง หรือการใช้เลเซอร์เพื่อลดอาการอักเสบ และกระตุ้นการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อ รวมไปถึงการใช้คลื่นกระแทก หรือคลื่นวิทยุความถี่ที่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม: ปรับท่าทางและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม เช่น การนั่งในท่าทางที่ถูกต้อง, การยกปรับจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา และการพักผ่อนขยับร่างกายทุกๆ 30 นาที จะช่วยป้องกันการเกิดอาการใหม่ เพราะถ้าไม่ปรับ ต่อให้รักษายังไงก็มีโอกาสกลับมาเป็นเหมือนเดิม
- หมั่นออกกำลังกาย: การออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น โยคะหรือพิลาทิส ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งจะช่วยบรรเทาและป้องกัน Office Syndrome นอกจากนี้การออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน การยืดเหยียด หรือการทำกายบริหารง่ายๆ ที่สามารถทำได้ในที่ทำงาน ก็จะช่วยลดอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น หากมีอาการปวดอยู่ในระดับที่เริ่มรุนแรง แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ หรือเช็กกับนักกายภาพบำบัด หากมีอาการเรื้อรังและไม่ดีขึ้น ควรได้รับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสมทันที
รักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่ S’RENE by SLC เรื่องสุขภาพกล้ามเนื้อไว้ใจเรา!
สำหรับใครที่กำลังเผชิญกับปัญหา Office Syndrome ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อยเรื้อรังที่คอ บ่า ไหล่ หรือที่หลัง เพิ่งเริ่มปวดหรือเป็นมานาน อาการค่อนข้างรุนแรง S’RENE by SLC ก็พร้อมดูแล และฟื้นฟูสุขภาพกล้ามเนื้อของคุณ ด้วย ‘OFFICE SYNDROME THERAPY’ โปรแกรมการนวดบำบัดแก้อาการปวดออฟฟิศซินโดรม โดยทีมนักบำบัด และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างครบวงจร จึงมั่นใจได้เลยว่า คุณจะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง
โดยในขั้นตอนแรก อาจจะต้องมีการประเมินอาการปวดในขั้นต้นก่อน โดยสามารถเลือกได้เลยว่า จะทำการประเมินโดยนักกายภาพ หรือแพทย์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดก่อนเริ่มทำการบำบัด เพราะเราใส่ใจคุณในทุกขั้นตอน จึงต้องมีการพูดคุย เพื่อหาต้นตอ และสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพนี้ จะได้แก้ได้ถูกทาง และรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลังจากนั้นจะทำการเลือกนวัตกรรมที่จะมาช่วยรักษา และฟื้นฟู โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และการประเมินตามความเหมาะสมของนักกายภาพบำบัด หรือแพทย์ ซึ่งที่ S’RENE by SLC เองก็มีอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ทันสมัย รวมถึงตอบโจทย์ในการรักษา และแก้อาการปวดทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น
- เครื่อง INDIBA เทคโนโลยีคลื่นวิทยุความถี่ 448 kHz ที่จะช่วยฟื้นฟูลึกถึงระดับเซลล์ ฟื้นตัวให้หายไวขึ้น ลดอาการบวม และการอักเสบในร่างกาย เครื่องนี้จะเป็นที่นิยมในกลุ่มนักกีฬา
- เครื่อง High-Power Laser จะเป็นเครื่องรักษาด้วยเลเซอร์พลังงานสูง ช่วยกระตุ้นซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เห็นผลทันที ลดการปวด ลดบวม ลดการอักเสบได้ดี เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการปวด
- เครื่อง Smart Focus Shockwave เป็นเทคโนโลยีคลื่นกระแทกโฟกัสตรงจุดที่มีปัญหา ช่วยกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซม สลายพังผืด และฟื้นตัวเร็ว ลดอาการเจ็บได้ทันทีโดยเฉพาะอาการเรื้อรัง
ลดอาการปวดด้วย Magneto STYM™ Therapy นั่งไม่กี่นาทีก็รู้สึกดีแล้ว!
ในส่วนของคนที่ไม่ค่อยมีเวลา ไม่อยากนอนรักษานาน ๆ ที่ S’RENE by SLC ก็ยังมีโปรแกรมรักษาด้วยเครื่อง Magneto STYM™ Therapy เพียงแค่นั่งไม่กี่นาที ก็ช่วยบรรเทาได้แล้ว โดยจะเป็นการรักษาด้วยการนั่งเก้าอี้ที่มีการส่งคลื่นพลังงานแม่เหล็ก เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดในทันที อีกทั้งยังเสริมสร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและออกซิเจน
นั่งเพียงแค่ 30 นาที (2,500.- / ครั้ง) และไม่ต้องถอดเสื้อผ้าให้วุ่นวาย โดยการรักษานี้ยังเหมาะกับคนที่มีอาการมือชา นิ้วชา เพราะมีหัวเฉพาะสำหรับการรักษา แถมยังยิงปืนเดียวได้นกสองตัว เพราะยังช่วยเพิ่มความแข็งให้อุ้งเชิงกราน และลดอาการฉี่เล็ดได้อีกด้วย
บทสรุปของ Office Syndrome อาการปวดที่ไม่ควรทน!
อย่างที่บอกไปช่วงแรก ๆ ว่า Office Syndrome เป็นอาการปวดเรื้อรังที่พบได้บ่อย ๆ ไม่จำเป็นต้องพนักงานออฟฟิศ แต่ถ้าใครที่มีพฤติกรรมการทำอะไรซ้ำ ๆ นั่งท่าเดิม ๆ ใช้งานร่างกายไม่ถูกต้อง ก็อาจจะประสบกับปัญหานี้ได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การป้องกัน และการรักษาของ Office Syndrome จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลสุขภาพ รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน การใช้ชีวิต และการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด Office Syndrome และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ แต่ถ้ายังหาทางออกไม่ได้ ขอให้ S’RENE by SLC ได้ช่วยคุณเองค่ะ
________________________________________________
ติดต่อจองคิว S’RENE by SLC ได้ที่
สาขา ทองหล่อ – โทร 064 184 5237
สาขา Charn แจ้งวัฒนะ – โทร 099 807 7261
สาขา Paradise Park ชั้น 3 – โทร 083 996 6959
สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่