เรื่องน่ารู้

Blogs

ปัสสาวะเล็ด ปัญหาสุขภาพที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม!

ปัสสาวะเล็ด

เคยไหมคะ เวลาที่เราหัวเราะ หรือไอแรงๆ แล้วมักจะมีปัสสาวะรั่วออกมานิดๆ รู้สึกเปียก ๆ ที่ชุดชั้นใน และนั่นก็คืออาการ ปัสสาวะเล็ด ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ ในผู้หญิง ซึ่งหลาย ๆ คนก็เลือกที่จะไม่สนใจ และมองข้ามปัญหานี้ไป เพราะคิดว่าคงไม่เป็นไรหรอก แต่ปัญหาฉี่เล็ดนั้น กลับเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพ ความสมดุลของร่างกาย หากปล่อยไว้นาน อาจจะเกิดปัญหาสุขภาพตามมา โดยอาการปัสสาวะเล็ดผู้หญิง จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อที่ควบคุมการปัสสาวะเกิดการอ่อนแอ หรือทำงานไม่เต็มที่ ส่งผลให้ปัสสาวะหลุด หรือฉี่เล็ด ออกมาโดยไม่ตั้งใจนั่นเอง

ปัสสาวะเล็ด คืออะไร? อันตรายหรือไม่?

ปัสสาวะเล็ด ในทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence) เป็นอาการที่ผู้ป่วย ไม่สามารถควบคุมการขับปัสสาวะได้ ทำให้มีการรั่วไหลของปัสสาวะโดยไม่ตั้งใจ เห็นได้ชัดเจนในเพศหญิง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่มีการเพิ่มแรงกดดันในช่องท้อง เช่น การไอ จาม หัวเราะ หรือออกแรง นอกจากนี้อาจเกิดจากการเสื่อมของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกราน มีการกดเบียดกับท่อและกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ จนเกิดฉี่เล็ดได้นั่นเอง

ปัสสาวะเล็ดผู้หญิง อาจจะดูไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และความมั่นใจอย่างมาก โดยเฉพาะในกิจกรรมประจำวัน แม้ว่าจะไม่อันตราย แต่หากไม่ดูแลหรือรักษาอย่างถูกวิธี ก็อาจจะทำให้มีอาการที่รุนแรงขึ้น และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ดังนั้น หากใครที่มีอาการปัสสาวะเล็ด ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ และการรักษาที่เหมาะสม

ปัสสาวะเล็ดมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

ปัสสาวะเล็ดเกิดจากสาเหตุได้หลายอย่าง โดยสาเหตุหลัก ๆ ก็จะมาจากการที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ จนทำให้เกิดจากการหย่อนคล้อยของอวัยวะต่างๆ ภายในอุ้งเชิงกราน ไม่ว่าจะเป็น

  1. มดลูกหย่อน:  เมื่ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง จึงมีโอกาสที่จะทำให้มดลูกหย่อนลงมาจากตำแหน่งปกติ   ซึ่งอาจไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ควบคุมการปัสสาวะได้ยากลำบากมากขึ้น กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่รองรับมดลูก และกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอลง ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของปัสสาวะโดยไม่ตั้งใจ จนทำให้เกิดปัสสาวะเล็ด 
  2. ผนังช่องคลอดหย่อน: ผนังช่องคลอดที่อ่อนแอ และหย่อนลง ทำให้เกิดการกดทับต่อกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการขับปัสสาวะได้ดี จนเกิดการฉี่เล็ด โดยเฉพาะเมื่อมีกิจกรรมที่เข้าไปเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น ไอ จาม หรือออกแรงหนักๆ
  3. กระเพาะปัสสาวะหย่อน: เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่รองรับทางเดินปัสสาวะอ่อนแอลง หรือหย่อน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของปัสสาวะได้โดยไม่ตั้งใจ การหย่อนของทางเดินปัสสาวะนี้อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การคลอดบุตรหลายครั้ง, อายุที่เพิ่มขึ้น, หรือภาวะน้ำหนักเกิน ส่งผลให้ปัสสาวะเล็ดออกมาโดยไม่ตั้งใจ โดยเฉพาะในขณะที่มีแรงกดดันในช่องท้อง เช่น การไอ, จาม, หรือออกแรง

นอกจากนี้ก็ยังสาเหตุอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฉี่เล็ดเกิดจากการคลอดบุตรบ่อยครั้ง หรือการยกของหนัก และ อั้นฉี่บ่อย ๆ รวมไปถึงฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ไม่สมดุล โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือนก็เป็นตัวการที่ทำให้เนื้อเยื่อในระบบปัสสาวะอ่อนแอลงได้อีกด้วย เราจะพบเห็นได้เลยว่าผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะพบอาการปัสสาวะเล็ดได้ค่อนข้างบ่อย และอย่าลืมว่า ความเครียด และ การติดเชื้อ ในทางเดินปัสสาวะก็มีส่วนในการกระตุ้นอาการปัสสาวะเล็ดได้อีกเช่นกัน แม้กระทั่งการที่ภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วนก็ทำให้เสี่ยงในการเกิดการฉี่เล็ดมากขึ้นกว่าปกติ ดังนั้น การดูแลสุขภาพอย่างครบวงจรจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันอาการนี้

อาการของปัสสาวะเล็ดเป็นอย่างไร เช็กให้รู้ ก่อนฉี่แตก!

อาการของปัสสาวะเล็ดสามารถแสดงออกได้ในหลายรูปแบบ ได้แก่ หากมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม

  1. ปัสสาวะรั่วไหลเมื่อไอ, จาม, หัวเราะ หรือออกแรง: อาการที่พบบ่อยเมื่อมีกิจกรรมที่เพิ่มแรงดันในช่องท้อง
  2. ปัสสาวะรั่วไหลระหว่างการทำกิจกรรมทางกายภาพ: เช่น การยกของหนัก หรือการออกกำลังกาย
  3. รู้สึกปวดปัสสาวะอย่างฉับพลัน: และไม่สามารถกลั้นปัสสาวะไว้ได้ทันเวลา หรือนาน
  4. ปัสสาวะเล็ดระหว่างการนอนหลับ: บางครั้งเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัวระหว่างที่นอน หรือฉี่เล็ดตอนนอน
  5. ต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ: แม้จะไม่ได้ดื่มน้ำมาก แต่มีอาการฉี่บ่อยผิดปกติ

แต่จริง ๆ แล้ว อาการของปัญหาปัสสาวะเล็ด มีอยู่ด้วยไม่กี่สเตจ หากปล่อยปัญหาไว้นาน ๆ ก็อาจจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลายสเตจ หรือระดับความรุนแรง ดังนี้

  1. ปัสสาวะเล็ดเล็กน้อย: เกิดขึ้นเมื่อมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น ไอ จาม หัวเราะ หรือออกกำลังกาย ยังไม่รุนแรงมาก แต่สามารถป้องกันด้วยการออกกำลังกาย หรือเข้าโปรแกรมรักษาเริ่มต้นได้ จะทำให้อาการไม่กลายเป็นหนัก
  2. ปัสสาวะเล็ดปานกลาง: ปัสสาวะเริ่มรั่วไหลในสถานการณ์ที่ไม่ได้มีแรงดันมาก แต่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น อาจจะต้องทำการรักษาสักระยะนึง เพื่อฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือการใช้ห่วงช่วยพยุง
  3. ปัสสาวะเล็ดรุนแรง: ปัสสาวะรั่วไหล หรือฉี่เล็ดตลอดเวลา แม้ในขณะนั่งหรือนอน อาจไม่สามารถควบคุมได้เลย หากใครอยู่ในระยะนี้ อาจจะต้องมีการผ่าตัดเพื่อแก้ไขตำแหน่ง และรักษาได้อย่างตรงจุด 

วิธีแก้ปัสสาวะเล็ด

ป้องกันอาการปัสสาวะเล็ด ทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ยาก!

ไม่ต้องกังวลไป! ปัสสาวะเล็ดไม่ใช่เรื่องที่แก้ไม่ได้ เราสามารถป้องกัน ด้วยวิธีแก้ปัสสาวะเล็ดแบบง่าย ๆ เช่น การฝึกท่าขมิบ (Kegel exercises) เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และการปรับพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ ก่อนนอน หรือไม่ยกของหนัก 

การป้องกันปัสสาวะเล็ดสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ตามวิธีต่างๆ ดังนี้:

  1. ฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน: การออกกำลังกายแบบ Kegel ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการปัสสาวะ
  2. ควบคุมน้ำหนัก: น้ำหนักส่วนเกินสามารถเพิ่มแรงกดดันต่อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  3. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก: การยกของหนักอาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ
  4. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้น: เช่น คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ที่อาจทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  5. จัดการกับโรคประจำตัว: เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อการควบคุมปัสสาวะ

การรักษาปัสสาวะเล็ด ฟื้นฟูน้องสาวให้กลับมาแข็งแรง!

การรักษาปัสสาวะเล็ด มีอยู่ด้วยสองวิธีหลักที่สามารถใช้แก้ปัญหานี้ได้ โดยจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ และความต้องการของผู้ป่วย เบื้องต้นแพทย์จะทำการวินิจฉัย และสำรวจอาการ เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด:

การรักษาด้วยวิธีแบบไม่ผ่าตัดนี้ เหมาะกับผู้ที่มีอาการปัสสาวะเล็ดที่ไม่รุนแรง หรือเพิ่งเริ่มต้นมีอาการฉี่เล็ดบ่อย ๆ เพียงเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง สามารถแก้ไขได้ไม่ยาก แต่อาจจะต้องใช้เวลา เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Kegel exercises): มีการออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และมีการขมิบกล้ามเนื้อที่ใช้หยุดปัสสาวะ จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการปัสสาวะ ส่งผลให้ฉี่เล็ดน้อยลง
  • การใช้ยารักษา: ยาบางชนิดสามารถช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้ รวมไปถึงการใช้ยารักษาปัสสาวะเล็ด และการดริปวิตามินเพื่อปรับฮอร์โมนเพศก็ส่งผลให้สุขภาพดีขึ้นได้
  • การใช้ห่วงพยุง (Pessary): สำหรับคนที่มีอาการรุนแรงระดับปานกลาง การใช้อุปกรณ์ที่สอดเข้าไปในช่องคลอด มีลักษณะเป็นห่วง ๆ ก็จะช่วยพยุงกระเพาะปัสสาวะ และลดอาการปัสสาวะเล็ดได้
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม: เช่น การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อย, การฝึกควบคุมการปัสสาวะ, และการลดน้ำหนัก เพื่อให้ได้น้ำหนักที่อยู่ในมาตรฐาน
  • โปรแกรมทรีตเมนต์สำหรับน้องสาว: ในปัจจุบันนี้มีหัตถการดูแลน้องสาวหลายวิธี และหลายโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นการใช้คลื่นวิทยุอย่างเครื่อง Indiba หรือการนั่งเก้าอี้ Magneto STYM™ Therapy ก็ช่วยรักษาปัสสาวะเล็ดได้ โดยไม่เจ็บตัว ไม่ต้องผ่าตัด

2. การรักษาแบบผ่าตัด:

หากทำการรักษาด้วยการไม่ผ่าตัดแล้วไม่เห็นผล หรือมีอาการปัสสาวะเล็ดที่อยู่ในระดับรุนแรง การผ่าตัดเพื่อแก้ไขตำแหน่งของกระเพาะปัสสาวะอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด 

  • การผ่าตัดใส่แถบรัดใต้ท่อปัสสาวะ (Sling surgery): ใช้แถบพยุงท่อปัสสาวะเพื่อรักษาการควบคุมการปัสสาวะ
  • การผ่าตัดยกกระเพาะปัสสาวะ (Colposuspension): ยกกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะให้กลับสู่ตำแหน่งปกติ เพื่อลดการรั่วไหลของปัสสาวะ

ตรวจและรักษาอาการปัสสาวะเล็ดที่ S’RENE by SLC คลินิกสุขภาพสำหรับคนเมือง

หยุดปัญหาปัสสาวะเล็ด รีบมารีแพร์น้องสาวแบบด่วน ๆ ที่ S’RENE by SLC ซึ่งที่นี่มีหลายโปรแกรมช่วยรักษาอาการปัสสาวะเล็ด หรือวิธีแก้ฉี่เล็ดโดยไม่ต้องผ่าตัดให้เจ็บตัว ซึ่งอาจจะต้องเริ่มต้นด้วยการตรวจวินิจฉัยอาการก่อนโดยแพทย์เฉพาะ หรือตรวจสุขภาพฮอร์โมนเพื่อเช็กดูความไม่สมดุลของร่างกาย จากนั้นแพทย์จึงจะแนะนำการรักษาที่เหมาะสม 

การบำบัดด้วยฮอร์โมน ปรับสมดุลร่างกาย

เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุล ส่งผลให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง จนทำให้อวัยวะภายในหย่อนคล้อย จนเกิดอาการปัสสาวะเล็ดตามมา ดังนั้นสิ่งที่ควรทำที่สุดคือการ รักษาฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติ ไม่ขาด หรือไม่เกิน โดยที่ S’RENE by SLC มีการบำบัดด้วยฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็น 

  • โปรแกรมการรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนเพศหญิงด้วย Placenta Therapy เพื่อช่วยฟื้นฟูสมดุลฮอร์โมน
  • การดริปวิตามิน สูตร Essential Lipid ที่ช่วยดูแลสมดุลของฮอร์โมนเพศ 
  • การดริปวิตามิน สูตร Amino Therapy 1 ที่จะช่วยเพิ่มสารอาหารอะมิโนบำบัด และฟื้นฟูกล้ามเนื้อ

รักษาปัสสาวะเล็ดด้วยเครื่อง Indiba เทคโนโลยีฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับโปรแกรม Feminine Care 1 จะเป็นการรักษาปัสสาวะเล็ดด้วยเครื่อง Indiba ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยจะมีการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงในการฟื้นฟูกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่อ่อนแอ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการปัสสาวะเล็ด เครื่อง Indiba ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ทำให้การควบคุมปัสสาวะดีขึ้น โดยไม่ต้องผ่าตัด และไม่มีความเจ็บปวดหลังการรักษา เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

เพิ่มความแข็งแรงอุ้งเชิงกรานด้วย Magneto STYM™ Therapy

สำหรับโปรแกรมรักษาปัสสาวะเล็ดด้วย Magneto STYM™ Therapy จะเป็นการนั่งเก้าอี้ที่มีการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ (Pulsed magnetic field) ช่วยกระตุ้น และเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อในบริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้มีการหดตัว โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ขั้วไฟฟ้าสอดเข้าไปภายในร่างกาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อหูรูด และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ช่วยลดอาการปัสสาวะเล็ด และฟื้นฟูความสามารถในการควบคุมการปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงแค่นั่งไม่กี่นาทีเท่านั้น แนะนำว่าควรทำอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จนครบทั้งหมด 8-10 ครั้ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 

สามารถเข้ามารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน His & Her Wellness กับ S’RENE by SLC หรือมาตรวจสุขภาพเพศเพื่อดูว่ามีปัญหา หรือรักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบไม่เจ็บตัวได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือจองคิวได้ที่

  • สาขา ทองหล่อ – โทร: 064184 5237
  • สาขา Charn แจ้งวัฒนะ14 – โทร:  099 807 7261
  • สาขา Paradise Park ชั้น 3 – โทร  083 996 6959
  • LINE: @SRENEbySLC 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Urinary Incontinence: Symptoms and Causes. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urinary-incontinence/symptoms-causes/syc-20352808

Urinary Incontinence. NHS.https://www.nhs.uk/conditions/urinary-incontinence/

Urinary Incontinence. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17596-urinary-incontinence

Urinary Incontinence: Causes and Risk Factors. Healthline. https://www.healthline.com/health/urinary-incontinence#causes-and-risk-factors

อ้างอิง แบบ APA 

Urinary incontinence – NHS

Urinary incontinence – Symptoms and causes

สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่