เรื่องน่ารู้

Blogs

นกเขาไม่ขัน? อย่าเพิ่งตกใจ ปลุกเจ้าหนูให้ตื่นตัว พร้อมสู้ศึกได้อีกครั้ง!

นกเขาไม่ขัน

“นกเขาไม่ขัน” มักเป็นคำที่ใช้เรียก หรือแซวผู้ชาย ที่มีอาการน้องชายไม่สู้ หรืออวัยวะเพศไม่แข็ง หรือแข็งตัวได้ยาก ผ่านภารกิจบนเตียงไม่ได้ รวมไปถึงล่มปากอ่าว หลั่งเร็ว จะต่อก๊อกสองก็ไม่ไหว ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือภาวะหย่อน หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพทางเพศของผู้ชายที่หลายคนไม่ได้ใส่ใจ โดยเฉพาะชายไทยที่ไม่ค่อยยอมรับว่าตัวเองมีอาการ หรือเสี่ยงเป็นภาวะนี้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย อีกทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบเจอมากในกลุ่มผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป  

การเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือนกเขาไม่ขัน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และความสัมพันธ์ทั้งในชีวิตคู่ ชีวิตรัก รวมถึงความสุขทางเพศ และเรื่องบนเตียง โดยจะเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ชายรู้สึกเครียด และรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดของโรค ED คือการที่ผู้ชายรับรู้ถึงปัญหา เข้าใจ และยอมรับ พร้อมหาทางออกให้กับน้องชาย เพราะปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ หากได้รับการดูแล และการรักษาที่เหมาะสม

นกเขาไม่ขัน คืออะไร?

นกเขาไม่ขัน คือ

ภาวะนกเขาไม่ขัน คือ ภาวะหย่อน หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction: ED) ที่เรียกกันในทางการแพทย์สั้น ๆ ว่าโรค ED เป็นสภาวะที่ผู้ชายนั้น ไม่สามารถทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว มีความยากลำบากในการรักษาการแข็งตัวไว้ได้อย่างเพียงพอสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ หรือเรียกได้ว่า ไม่เสร็จกิจ นั่นเอง โดยภาวะนี้เกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งทางกายภาพ และทางจิตใจ ถึงแม้ว่าจะดูไม่ได้เป็นปัญหาที่รุนแรงหนัก แต่ก็ส่งผลกระทบต่อจิตใจ และความสุขทางเพศได้ ซึ่งในการรักษานั้น ต้องได้รับการประเมิน และการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และให้การรักษาที่เหมาะสม และตรงจุด

นอกจากนี้การแข็งตัวของอวัยวะเพศชายยังเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบประสาท หลอดเลือด กล้ามเนื้อ และจิตใจ การที่มีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลาย ๆ ส่วนที่เกี่ยวข้อง ก็สามารถส่งผลกระทบให้เกิดภาวะนกเขาไม่ขันขึ้นได้

อวัยวะเพศไม่แข็งตัว

กลไกการทำงานของอวัยวะเพศชาย

ก่อนที่จะรู้สาเหตุ และวิธีรักษานกเขาไม่ขัน ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกลไกการทำงานของอวัยวะเพศชายที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัว (Erection) ก่อน เพราะว่าเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน และต้องทำงานร่วมกันกับระบบหลายระบบในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาท ระบบหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน และกล้ามเนื้อ โดยกระบวนการแข็งตัวของอวัยวะเพศ มีลำดับขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

  1. การกระตุ้นทางเพศ: การกระตุ้นทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางกายภาพ และจิตใจ เช่น การสัมผัส การมองเห็น การฟัง หรือความคิดเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ โดยการกระตุ้นเหล่านี้จะส่งสัญญาณจากสมองผ่านระบบประสาทไปยังอวัยวะเพศชาย
  2. การปล่อยสัญญาณทางประสาท: เมื่อได้รับการกระตุ้นทางเพศเรียบร้อย สมองจะส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทไปยังปลายประสาทที่อยู่ในอวัยวะเพศชาย สัญญาณเหล่านี้จะทำให้เกิดการปล่อยสารสื่อประสาท (Neurotransmitters) เช่น นิโตรเจนออกไซด์ (Nitric Oxide) ที่ปลายประสาทของหลอดเลือดในอวัยวะเพศ
  3. การขยายหลอดเลือด: นิโตรเจนออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจะกระตุ้นให้เซลล์กล้ามเนื้อในผนังหลอดเลือดคลายตัว ทำให้หลอดเลือดขยายใหญ่ขึ้น (Vasodilation) ซึ่งช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศชาย หลอดเลือดที่สำคัญ คือหลอดเลือดอัลคาวาโนซา (Cavernous arteries) 
  4. การเพิ่มการไหลเวียนของเลือด: เมื่อหลอดเลือดขยายตัว เลือดจะเริ่มไหลเข้าสู่เนื้อเยื่อของอวัยวะเพศชาย ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อฟองน้ำสองส่วนที่เรียกว่า คอร์พัสคาเวอโนซัม (Corpus Cavernosum) การไหลเข้าของเลือดนี้ทำให้เนื้อเยื่อฟองน้ำขยายตัว และทำให้เกิดการแข็งตัวขึ้น
  5. การกักเก็บเลือดในอวัยวะเพศ: เมื่อเนื้อเยื่อฟองน้ำขยายตัว การหดตัวของกล้ามเนื้อที่ฐานของอวัยวะเพศชายจะกดทับหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากอวัยวะเพศ ทำให้เลือดถูกกักเก็บไว้ในเนื้อเยื่อฟองน้ำ ซึ่งทำให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  6. การรักษาการแข็งตัว: การแข็งตัวของอวัยวะเพศจะถูกรักษาไว้จนกว่าการกระตุ้นทางเพศจะสิ้นสุดลงหรือเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิ ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการมีเพศสัมพันธ์ ในขั้นตอนนี้ สัญญาณจากสมองจะหยุดการปล่อยนิโตรเจนออกไซด์ ทำให้หลอดเลือดกลับสู่สภาพปกติ และเลือดไหลออกจากอวัยวะเพศ ทำให้อวัยวะเพศชายหย่อนลง

การทำงานของอวัยวะเพศชายที่แข็งตัวได้อย่างสมบูรณ์ ต้องการการทำงานร่วมกันหลายระบบในร่างกาย การมีปัญหาในระบบใดระบบหนึ่ง เช่น ระบบประสาท ระบบหลอดเลือด หรือระบบฮอร์โมน สามารถทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือมีปัญหาในการที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัวได้ทันที

สาเหตุนกเขาไม่ขัน

นกเขาไม่ขันมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง?

ภาวะนกเขาไม่ขันเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางกายภาพ หรือทางจิตใจ โดยสาเหตุที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ 

ปัจจัยทางกายภาพ

  1. ปัญหาในการไหลเวียนเลือด: เรื่องเลือดเป็นหัวใจหลักในการแข็งตัวของน้องชาย หากใครที่มีโรคหัวใจ และหลอดเลือดไม่ดี เช่น หลอดเลือดอุดตันหรือเส้นเลือดแดงแข็ง ก็สามารถส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะเพศไม่เพียงพอ โดยเฉพาะบริเวณน้องชาย หรือเส้นเลือดบริเวณนั้นมีการเสียหาย ไม่สมบูรณ์ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่นกเขาไม่ขัน
  2. ความไม่สมดุลของฮอร์โมน: อีกหนึ่งสาเหตุหลักที่นกเขาไม่ขันเกิดจากการที่ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ สามารถส่งผลให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยอายุที่เยอะขึ้น ร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนเพศชายน้อยลง จึงทำให้คนที่มีอายุเยอะ หรือวัยทองผู้ชาย เสื่ยงมีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้เยอะกว่าหนุ่ม ๆ
  3. โรคเบาหวาน: โรคเบาหวานสามารถทำลายเส้นประสาท และหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัว ทำให้การส่งสัญญาณระหว่างสมองและอวัยวะเพศเกิดการผิดปกติ
  4. ภาวะความดันโลหิตสูง: สามารถทำลายหลอดเลือด และลดการไหลเวียนของเลือดได้ จึงทำให้การแข็งตัวของอวัยวะเพศนั้นมีการลดลง
  5. ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน: น้ำหนักเกิน และโรคอ้วนสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  6. การใช้ยาบางประเภท: ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาต้านเศร้า และยารักษาโรคหัวใจ สามารถมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
  7. การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์: หากดื่มเหล้า หรือเบียร์ และสูบบุหรี่เป็นประจำ สามารถทำลายหลอดเลือด และลดการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ ส่งผลให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือขณะที่กำลังเมา ก็อาจทำให้นกเขาไม่ขันได้
  8. การบาดเจ็บหรือการผ่าตัด: การบาดเจ็บที่กระดูกเชิงกราน เส้นประสาท หรือการผ่าตัดในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ สามารถทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ปัจจัยทางจิตใจ

  1. ความเครียดและความวิตกกังวล: เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว โดยคนที่มีความเครียด รวมถึงมีความวิตกกังวลสะสมนาน ๆ มีผลทำให้เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และลดลงความต้องการทางเพศได้ 
  2. ภาวะซึมเศร้า: ใครที่มีภาวะนี้ แน่นอนว่าจะมีปัญหาในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็จะทำให้ไม่มีความต้องการทางเพศ หรือมีน้อยจนไม่อยากมีเซ็กส์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  3. ปัญหาทางความสัมพันธ์: การทะเลาะกัน หรือความขัดแย้ง รวมถึงปัญหาทางความสัมพันธ์กับคู่ชีวิต หรือใครก็ตาม สามารถส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศแบบอ้อม ๆ ได้
  4. ประสบการณ์ทางเพศที่ไม่ดีในอดีต: ประสบการณ์ทางเพศที่ไม่ดีในอดีต อาจกลายมาเป็นปมทางจิตใจ และสาเหตุนกเขาไม่ขัน ไม่ว่าจะเป็น ความล้มเหลวในการแข็งตัว หรือมีประสบการณ์ทางเพศที่ไม่พึงพอใจ สามารถสร้างความหวาดกลัว และความวิตกกังวลขณะมีความสัมพันธ์ในอนาคตได้ 
  5. โรคแพนิค หรือโรคตื่นตระหนก: สำหรับคนที่เป็นแพนิค จะมีความรู้สึกกลัว และตื่นตระหนกอย่างมาก หากเจอเหตุการณ์ หรือรู้สึกกลัวในโรคเพศสัมพันธ์ ก็อาจจะทำให้เกิดการฝ่อของน้องชาย หรือยากที่จะแข็งตัวได้

โรคนกเขาไม่ขัน

แนวทางการป้องกันภาวะนกเขาไม่ขัน

แน่นอนว่าการดูแล และป้องกันด้วยตัวเองในระดับนึง จะช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหานกเขาไม่ขันได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก่อนที่นกเขาไม่แข็ง

  1. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: ช่วยลดน้ำหนัก เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายแข็งแรง รวมถึง ส่งผลให้ไขมันลดลง และช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดดีขึ้น
  2. การกินอาหารที่มีประโยชน์: การบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผักและผลไม้ ธัญพืช เนื้อปลา และอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพหลอดเลือด และหัวใจ
  3. การจัดการความเครียด: การฝึกสมาธิ โยคะ การนอนหลับเพียงพอ และการทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายจิตใจสามารถช่วยลดความเครียด และภาวะซึมเศร้า 
  4. การเลิกสูบบุหรี่และการลดการดื่มแอลกอฮอล์: การเลิกสูบบุหรี่ และการลดการดื่มแอลกอฮอล์สามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพหลอดเลือด และลดความเสี่ยงของภาวะนกเขาไม่ขัน
  5. การตรวจสุขภาพฮอร์โมน: การตรวจสุขภาพประจำปีอาจไม่เพียงพอ เพราะเราจะรู้เพียงแค่พื้นฐานของสุขภาพเท่านั้น ควรตรวจลงลึกไปถึงฮอร์โมนเพศ ด้วยการตรวจสุขภาพเพศ เพื่อเช็กถึงปัญหาว่ามีอะไรที่อาจส่งผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ รวมถึงเช็กดูอาการจากข้างนอกว่า เริ่มมีอาการ หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือโรคนกเขาไม่ขันหรือยัง จะได้รักษาได้ทันที

อาการนกเขาไม่ขัน

จะรู้ได้อย่างไรว่าเสื่อมสมรรถภาพ…รีบเช็กก่อน นกเขาไม่ขัน!

อย่าปล่อยให้นกเขาไม่แข็งแรง หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการประเมิน และรับการรักษาที่เหมาะสม เพราะยิ่งปล่อยปัญหาทิ้งไว้นาน อาการจะยิ่งบานปลายได้ 

  • น้องชายไม่แข็งตัว: ไม่สู้ศึก ไม่สามารถแข็งตัวได้แม้มีการกระตุ้นทางเพศแล้ว
  • แข็งแต่อ่อนตัวเร็ว: มีการแข็งตัว แต่ไม่คงทนพอสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ แถมสัมผัสยังแข็ง ๆ นิ่ม ๆ และแข็งได้ไม่นาน
  • ล่มปากอ่าว: มีปัญหาในการหลั่งเร็ว หรือใช้ยาแก้หลั่งเร็วแล้วแต่ก็ไม่ได้ผล
  • ไม่เคารพธงชาติในช่วงเช้า: ผู้ชายมักจะมีอาการแข็งตัวในตอนเช้า หากเริ่มไม่ค่อยแข็ง อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเริ่มหย่อนสมรรถภาพแล้ว
  • ความต้องการทางเพศลดลง: รู้สึกว่าไม่อยากมีเซ็กส์ หรือมีความต้องการทางเพศลดลง หรือแทบจะไม่มีเลย

วิธีรักษานกเขาไม่ขัน

การรักษาภาวะนกเขาไม่ขัน

วิธีแก้ปัญหานกเขาไม่ขันมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แต่สำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหานกเขาไม่ขันอยู่ ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือควรมาปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อระบุหาสาเหตุ และเสนอแนวทางการรักษาที่เหมาะสม จะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ เสริมสร้างความมั่นใจ ยกระดับคุณภาพชีวิตในระยะยาว โดยการรักษาภาวะนกเขาไม่ขัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และความรุนแรงของอาการ โดยจะมีแนวทางการรักษาได้ ดังนี้

  1. ตรวจสุขภาพเพศ และรับคำแนะนำจากแพทย์: เพื่อให้เข้าถึงปัญหา และตรวจวัดระดับอาการว่าเป็นหนักขนาดไหน หรือมีสาเหตุมาจากอะไร เพื่อทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
  2. การบำบัดด้วยฮอร์โมน: หากตรวจสุขภาพเพศแล้วพบว่ามีปัญหาฮอร์โมนบกพร่อง หรือมีฮอร์โมนเพศต่ำ สามารถทำการบำบัดด้วยฮอร์โมน รวมถึงมีการใช้ยาฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในกรณีที่ระดับฮอร์โมนต่ำเกินไป นอกจากนี้ยังสามารถดริปวิตามินปรับสมดุลฮอร์โมนได้
  3. การใช้ยา: หากมีอาการที่เกี่ยวกับหลอดเลือด อาจใช้ยาที่มีการช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศ และช่วยสร้างการแข็งตัว หรือใช้ยาแก้นกเขาไม่ขัน อย่างเช่น ไวอากร้า และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีข้อควรระวัง และข้อห้ามใช้ในบางประการ ควรรับคำแนะนำอย่างถูกต้องภายใต้การดูแลของแพทย์
  4. การบำบัดทางจิตวิทยา: หากมีปัญหาในเรื่องของสภาวะจิตใจ ควรพูดคุยกับนักจิตวิทยา หรือที่ปรึกษาทางเพศ จะสามารถช่วยลดความเครียด และปัญหาทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับภาวะนกเขาไม่ขันได้ เพราะหากกินยา หรือรักษา แต่ปัญหานี้ไม่ได้ถูกแก้ไข ก็กลับมาไม่แข็งได้
  5. ใช้กระบอกปั๊มสุญญากาศ: เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้แข็งตัวได้ชั่วขณะ ซึ่งจะเป็นกระบอกครอบไปที่น้องชาย โดยจะมีการสร้างแรงดูด เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้น้องชายแข็งตัวได้ สามารถใช้ก่อนมีเพศสัมพันธ์ โดยหลังจากที่อวัยวะเพศแข็งตัวแล้ว จะมีการใช้ห่วงรัดที่ฐานอวัยวะเพศเพื่อรักษาการแข็งตัว ไม่ให้เลือดกลับเข้าไปที่ร่างกาย ทำให้การปั๊มสุญญากาศเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้ยา และสามารถใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้
  6. การดูแล และฟื้นฟูเส้นเลือด: การแข็งตัวของอวัยเพศ เส้นเลือดเป็นส่วนที่สำคัญ ดังนั้น หากเส้นเลือดมีปัญหา ควรรักษาด้วยการฉีดเกล็ดเลือด (PRP) หรือใช้คลื่นกระแทก (Shockwave) เพื่อกระตุ้นการฟื้นฟู และซ่อมแซมเส้นเลือดในบริเวณอวัยวะเพศชาย รักษาการอุดตันของเส้นเลือดได้ดี
  7. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต: การออกกำลังกาย การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และการเลิกสูบบุหรี่ รวมถึงดื่มแอลกอฮอล์ สามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพ และลดความเสี่ยงของภาวะนกเขาไม่ขัน และอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
  8. การผ่าตัด: ในกรณีที่มีอาการรุนแรง  อาจจะต้องมีการผ่าตัด ซึ่งอาจเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อใช้อย่างอื่นไม่ได้ผลแล้ว โดยจะเป็นการใส่แกนเทียม โดยแกนเทียมนี้จะช่วยให้ผู้ชายสามารถควบคุมการแข็งตัวได้ตามต้องการ

รักษานกเขาไม่ขัน

ตรวจและรักษาภาวะนกเขาไม่ขันที่ S’RENE by SLC คลินิกสุขภาพสำหรับคนเมือง

เพื่อคืนความสุข และมอบความแข็งแรงให้กับคุณผู้ชาย เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการมีความสุขทางเพศ เสริมสร้างความแข็งแรง พร้อมลุยศึกบนเตียง จึงทำให้ที่ S’RENE by SLC มีบริการตรวจ และการรักษานกเขาไม่ขันอย่างครบวงจร โดยเบื้องต้นก็จะมีโปรแกรมการตรวจสุขภาพฮอร์โมน หรือตรวจสุขภาพเพศ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญ และสิ่งแรกที่ควรทำทุกคน เพื่อเช็กดูระดับฮอร์โมนเพศชายว่าน้อยมากแค่ไหน จากนั้นทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะของเราจะทำการประเมินสภาพร่างกาย และสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยอย่างละเอียด พร้อมทั้งเสนอแนวทางการรักษาที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยสามารถรักษา และแก้นกเขาไม่ขัน ด้วยบริการที่หลากหลายได้ตามนี้

  • S’RENE P Booster: รักษาอาการนกเขาไม่ขันด้วยการฉีด P Shot ด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) โดยจะแพทย์จะทำการเจาะเลอดของผู้ป่วยออกมาปั่นเพื่อแยกเอาพลาสม่ามาฉีดกลับเข้าไปที่องคชาต โดยจะฉีดบริเวณรอบ ๆ ทั้งลำโคน และหัว เพื่อฟื้นฟูเนื้อเยื่อ และหลอดเลือด ช่วยให้เกิดการฟื้นฟู ทำให้กลับมามีอาการแข็งตัวที่ดีได้เหมือนเดิม
  • S’RENE Premium P Booster: เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษากับ P Shot ด้วยพลังของเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งจะคล้ายกับการใช้ PRP แต่อนุภาคขนาดเล็กนี้จะช่วยซ่อมแซม และฟื้นฟูได้ดีกว่า แต่จะค่อย ๆ ฟื้นฟูให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ และแสดงผลได้ระยะยาวขึ้น
  • Smart Focus Shockwave: สำหรับโปรแกรมนี้จะเป็นการใช้คลื่นกระแทก เพื่อเข้าไปกระตุ้นให้เส้นเลือด และกล้ามเนื้อ เกิดการซ่อมแซมตัวเอง อีกทั้งยังช่วยเร่งการฟื้นฟู ให้เส้นเลือดกลับมาแข็งแรง และช่วยให้แข็งตัวได้ดี และนานขึ้น นอกจากนี้ที่ S’RENE by SLC ยังใช้เป็นหัวพิเศษแบบ Smart ทำให้ไม่เจ็บขณะทำ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีแก้นกเขาไม่ขันที่ไม่เจ็บ ทำเสร็จแล้วใช้งานได้ทันที แต่ผลลัพธ์จะค่อย ๆ ฟื้นฟูขึ้น และดีขึ้นตามลำดับ ควรเข้ามาทำอย่างต่อเนื่องเพื่อผลลัพธ์ที่สูงสุด
  • Magneto STYM™ Therapy: โปรแกรมการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง ด้วยการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานหดตัว โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ขั้วไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนเลือด และลดอาการปวด รวมถึงลดปัสสาวะเล็ด และช่วยรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขันได้ แต่อาจจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากขึ้น 

สามารถเข้ามาปรึกษาสุขภาพเพศเบื้องต้น มีอาการนกเขาไม่ขัน หรืออาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชาย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน His & Her Wellness กับ S’RENE by SLC สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือจองคิวได้ที่

  • สาขา ทองหล่อ – โทร: 064184 5237
  • สาขา Charn แจ้งวัฒนะ14 – โทร:  099 807 7261
  • สาขา Paradise Park ชั้น 3 – โทร  083 996 6959
  • LINE: @SRENEbySLC

สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Erectile Dysfunction. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/10035-erectile-dysfunction

Erectile Dysfunction: Symptoms and Causes. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/erectile-dysfunction/symptoms-causes/syc-20355776

Erectile Dysfunction. Johns Hopkins Medicine. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/erectile-dysfunction

Erectile Dysfunction: Exercises and Treatments. Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/5702#exercises

อ้างอิง แบบ APA 

Erectile dysfunction – Symptoms and causes

Erectile Dysfunction (ED): Causes, Diagnosis & Treatment

Erectile Dysfunction (ED): Symptoms, Diagnosis & Treatment

สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่