เรื่องน่ารู้

Blogs

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ รู้ทันก่อนไร้อารมณ์ จนเซ็กส์สะดุด

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในปัจจุบันนี้ เป็นปัญหาที่ผู้คนเริ่มให้ความสนใจ เนื่องจากสังคมที่เริ่มเปิดกว้างในเรื่องเซ็กส์ ว่าเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ และพยายามทำความเข้าใจกันมากขึ้น เพราะว่าเรื่องนี้ส่งผลต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตได้มากกว่าที่คิด โดยอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่เรามักจะพบเห็นปัญหาเหล่านี้ได้ในผู้ชายซะส่วนใหญ่ เพราะปัญหาเสื่อมสมรรถภาพ จะเห็นได้ชัดจากการที่ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว นกเขาไม่ขัน ส่วนผู้หญิงเองก็อาจจะเกิดจากการที่ถึงจุดสุดยอดยาก หรือไม่มีอารมณ์ทางเพศ รวมไปถึงมีอาการช่องคลอดแห้งฝืด ไม่มีน้ำหล่อลื่น ซึ่งไม่ว่าจะผู้หญิง หรือผู้ชายก็สามารถมีอาการหย่อน หรือเสื่อมสมรรถภาพได้เหมือนกัน ถ้าหากไม่รักษา ก็อาจนำไปสู่การที่มีเซ็กเสื่อม และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คืออะไร?

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรืออาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการมีเพศสัมพันธ์ทั้งในผู้ชาย และผู้หญิง โดยสามารถเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางกายภาพ อย่างโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมถึงปัจจัยทางจิตใจ เช่น ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล แต่ปัจจัยหลัก ๆ ก็จะมาจากการที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น และมีการผลิตฮอร์โมนเพศที่ลดลง ทำให้เกิดความไม่สมดุลของร่างกาย ส่งผลให้มีความต้องการทางเพศที่ลดน้อยลง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาการหย่อนสมรรถภาพเพศ มักจะมาร่วมกับอาการวัยทองนั่นเอง

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย หรือที่ทุกคนเรียกกันว่า ED (Erectile Dysfunction) คือภาวะที่ผู้ชายมีความยากลำบากในการสร้าง หรือรักษาการแข็งตัวของอวัยวะเพศให้เพียงพอสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงมีอาการหลั่งช้า และมีความต้องการทางเพศที่ลดลง จนรู้สึกว่าไม่อยากมีเซ็กส์ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบได้บ่อยในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้หญิง เรียกย่อ ๆ กันว่า FSD (Female Sexual Dysfunction) เป็นภาวะที่ผู้หญิงมีปัญหาเกี่ยวกับความต้องการทางเพศ ไม่ค่อยมีอารมณ์ หรือมีความรู้สึกจากการมีเพศสัมพันธ์ การตื่นตัวระหว่างมีเพศสัมพันธ์น้อยลง การถึงจุดสุดยอดได้ช้า หรือแทบไม่ถึงเลย รวมไปถึงมีความเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ภาวะนี้อาจเกิดจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุล หรือมีปัญหาทางจิตใจ โดยเฉพาะวัยทองในผู้หญิงที่จะพบได้ค่อนข้างมาก 

อาการของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

อาการของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สามารถแสดงออกได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยในส่วนของอาการเสื่อมสมรรถภาพของผู้ชาย จะมีอาการ ดังนี้

  1. ไม่สามารถสร้างการแข็งตัวได้: ผู้ชายที่มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจะพบปัญหาในการสร้างการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย แม้ว่าจะมีความต้องการทางเพศก็ตาม โดยจะให้ความรู้สึกเป็นแบบเต้าหู้อ่อน สัมผัสนุ่มนิ่ม
  2. การแข็งตัวที่ไม่เพียงพอ: ถึงแม้ว่าจะสามารถสร้างการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้ แต่การแข็งตัวนั้นอาจยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างเต็มที่ โดยให้ความรู้สึกเหมือนกล้วยไข่แข็ง ๆ ที่ปอกเปลือกแล้ว แข็งนะ แต่ยังนิ่มอยู่
  3. ไม่สามารถรักษาการแข็งตัวได้: ต่อให้สามารถทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ก็ยังไม่สามารถรักษาการแข็งตัวไว้ได้นานพอที่จะทำให้มีเซ็กส์ได้อย่างเสร็จสมอารมณ์หมาย  
  4. การลดลงของความต้องการทางเพศ: อาจมีอาการลดลงของความต้องการทางเพศ หรือความสนใจในกิจกรรมทางเพศที่ลดน้อยลง จนทำให้ไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวได้ช้า
  5. สูญเสียการแข็งตัวในตอนเช้า: ผู้ชายที่มีสุขภาพทางเพศปกติดี มักจะมีการแข็งตัวในช่วงตอนเช้า ที่หลายคนเรียกกันว่า เคารพธงชาติ ซึ่งหากไม่มีการแข็งตัวในตอนเช้าเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
  6. อาการแฝงที่เกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ: อาการของภาวะเสื่อมสมรรถภาพเพศชาย อาจเกิดร่วมกับอาการของโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือภาวะซึมเศร้า

สำหรับอาการที่บ่งบอกถึงภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของผู้หญิงนั้น ก็สามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบเช่นกัน ดังนี้

  1. ความต้องการทางเพศลดลง: มีความสนใจหรือความต้องการในการทำกิจกรรมทางเพศลดลง หรือไม่มีความต้องการทางเพศเลย
  2. ความยากลำบากในการตื่นตัวทางเพศ: อาจมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นทางเพศที่ช้า หรือไม่รู้สึกตื่นเต้น จนไม่เกิดกระตุ้นให้มีน้ำหล่อลื่นได้อย่างเพียงพอ ทำให้เกิดอาการเจ็บในขณะมีเพศสัมพันธ์
  3. การไม่สามารถรักษาการตื่นตัวได้: แม้จะมีความรู้สึกตื่นเต้นในช่วงแรก แต่อาจไม่สามารถรักษาความรู้สึกตื่นเต้นนั้นได้ตลอดช่วงของกิจกรรมทางเพศ
  4. การถึงจุดสุดยอดที่ยากลำบาก หรือไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้: ผู้หญิงอาจมีความยากลำบาก หรือไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้ แม้ว่าจะได้รับการกระตุ้นทางเพศอย่างเหมาะสม รวมไปถึงใช้เวลานานกว่าปกติในการถึงจุดสุดยอด หรือมีความรู้สึกเพียงเล็กน้อยเมื่อถึงจุดสุดยอด 
  5. ความเจ็บปวดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์: มีความเจ็บ และรู้สึกไม่สบาย ระหว่างหรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดจากการที่มีน้ำหล่อลื่นไม่เพียงพอ 

สาเหตุในการเสี่ยงโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

เสื่อมสมรรถภาพ สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพเพศชายสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ซึ่งจะมีมากกว่าของผู้หญิงที่มีแค่ในเรื่องของฮอร์โมน และสาเหตุอื่น ๆ อีกนิดหน่อย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นปัจจัยทางกายภาพ และปัจจัยทางจิตใจ ดังนี้

ปัจจัยทางกายภาพ

  1. ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง: ยิ่งมีอายุเพิ่มมากขึ้นการผลิตฮอร์โมนเพศก็ลดลง หากมีฮอร์โมนเพศที่ไม่สมดุล อาจเป็นสาเหตุแรกที่ทำให้เสี่ยงเกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
  2. โรคหัวใจและหลอดเลือด: ปัญหาการไหลเวียนเลือด เช่น หลอดเลือดอุดตัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถทำให้การส่งเลือดไปยังอวัยวะเพศชายลดลง ทำให้ไม่สามารถเกิดการแข็งตัวได้เพียงพอ
  3. โรคเบาหวาน: โรคเบาหวานสามารถทำลายเส้นประสาทและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
  4. ภาวะความดันโลหิตสูง: ความดันโลหิตสูงสามารถทำลายหลอดเลือด และลดการไหลเวียนเลือด ทำให้การแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลง
  5. ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน: น้ำหนักเกิน และโรคอ้วนสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  6. โรคเรื้อรังอื่นๆ: โรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคปอด และโรคพาร์กินสัน สามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและการไหลเวียนเลือด ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  7. การใช้ยาบางประเภท: ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาต้านเศร้า และยารักษาโรคหัวใจ สามารถมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  8. การสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่สามารถทำลายหลอดเลือดและลดการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศ ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  9. การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป: การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานสามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและการไหลเวียนเลือด ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ปัจจัยทางจิตใจ

  1. ความเครียดและความวิตกกังวล: ความเครียด และความวิตกกังวล เป็นสาเหตุเสื่อมสมรรถภาพเพศชาย และหญิง สามารถส่งผลกระทบได้ในระยะยาว โดยจะเป็นการลดความต้องการทางเพศ และทำให้เกิดปัญหาในการสร้างการแข็งตัว
  2. ภาวะซึมเศร้า: ภาวะซึมเศร้าสามารถลดความต้องการทางเพศ และทำให้เกิดปัญหาในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ส่วนของผู้หญิงจะทำให้มีความรู้สึกทางเพศ
  3. ปัญหาทางความสัมพันธ์: ความขัดแย้ง หรือปัญหาทางความสัมพันธ์กับคู่ชีวิต สามารถส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศโดยตรงได้
  4. ประสบการณ์ทางเพศที่ไม่ดีในอดีต: ประสบการณ์ทางเพศที่ไม่ดีในอดีต เช่น ความล้มเหลวในการแข็งตัว หรือประสบการณ์ทางเพศที่ไม่พึงพอใจ สามารถสร้างความกลัว และความวิตกกังวลในอนาคต ส่งผลได้ในระยะยาว

กลุ่มเสี่ยงอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ได้แก่

  1. ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี: ความเสี่ยงในการเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศจะเพิ่มขึ้นตามอายุ เนื่องจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือด และระบบประสาท แต่ใช่ว่าผู้ที่มีอายุน้อยจะไม่เจอ เพราะปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย
  2. ผู้หญิงที่หมดวัยประจำเดือน: เช่นเดียวกับของผู้ชาย ผู้หญิงจะมีความต้องการทางเพศที่น้อยกว่าผู้ชายอยู่แล้ว ยิ่งอยู่ในวัยหมดประจำเดือน ก็ยิ่งทำให้มีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศมากกว่าเดิม
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว: โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากโรคเหล่านี้สามารถทำลายเส้นประสาท และหลอดเลือด
  4. ผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตไม่ดีต่อสุขภาพ: การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และการขาดการออกกำลังกายสามารถทำลายสุขภาพหลอดเลือด และลดความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  5. ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน: การที่มีน้ำหนักเกินมาตราฐาน สามารถทำให้เกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  6. ผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ: ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และปัญหาทางจิตใจอื่นๆ สามารถส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศได้
  7. ผู้ที่ใช้ยาบางประเภท: ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาต้านเศร้า และยารักษาโรคหัวใจ สามารถมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  8. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน: ระดับฮอร์โมนเพศที่ต่ำ ไม่ว่าจะเป็น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถส่งผลให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ 
  9. ผู้ที่มีประวัติการบาดเจ็บหรือการผ่าตัด: การบาดเจ็บที่กระดูกเชิงกราน เส้นประสาท หรือการผ่าตัดในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์สามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

แนวทางการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

แนวทางการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

หลายคนมีความสงสัยว่า เสื่อมสมรรถภาพรักษาหายหรือไม่ ต้องบอกว่ารักษาหาย แต่จะต้องค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป โดยการรักษา และวิธีแก้ปัญหาสมรรถภาพทางเพศเสื่อม มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และความรุนแรงของอาการ แต่ละวิธีก็มีประสิทธิภาพในการช่วยปรับปรุงการแข็งตัวของอวัยวะเพศ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ ซึ่งแนวทางการรักษาที่พบบ่อยมี ดังนี้

  1. ตรวจสุขภาพฮอร์โมนเพศ: ก่อนจะเริ่มทำการรักษา ไม่ว่าจะอาการหนัก อาการเบา หรือรู้ว่ามีปัญหาแล้ว ก็ควรมาตรวจสุขภาพเพศก่อน เพื่อหาสาเหตุที่ต้นเหตุ และรู้ลึกถึงระดับฮอร์โมน เพื่อให้แพทย์ได้วิเคราะห์ และทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
  2. การใช้ยา: เป็นยาที่ใช้ในการรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โดยการเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศ ยาเหล่านี้ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียง และข้อห้ามบางประการ
  3. การบำบัดทางจิตวิทยาและการให้คำปรึกษา: การพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือที่ปรึกษาทางเพศสามารถช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล และปัญหาทางจิตใจอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ การบำบัดนี้มักจะรวมถึงการเรียนรู้วิธีการจัดการกับความเครียด และการสื่อสารกับคู่ชีวิต
  4. การบำบัดด้วยฮอร์โมน: สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือเอสโตรเจนที่ต่ำกว่าปกติ การบำบัดด้วยฮอร์โมนสามารถช่วยได้ ไม่ว่าจะ IV Drip หรือการใช้ยาฮอร์โมนในรูปแบบต่างๆ อย่างการฉีด P Shot หรือ O Shot รวมไปถึงทานยาปรับฮอร์โมน
  5. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต: การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม รวมถึงการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักและผลไม้ ธัญพืช เนื้อปลา และอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพหลอดเลือด และหัวใจ 
  6. การเลิกสูบบุหรี่และการลดการดื่มแอลกอฮอล์: การเลิกสูบบุหรี่ และการลดการดื่มแอลกอฮอล์สามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
  7. การใช้เครื่องมือ รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย: การใช้คลื่นกระแทกเพื่อกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่ และเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศเป็นการรักษาที่ดีในปัจจุบันนี้ สำหรับโรคเสื่อมสมรรถภาพของเพศชายโดยเฉพาะ
  8. การผ่าตัด: ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่สำเร็จ การผ่าตัดใส่แกนเพศชายเทียมอาจเป็นทางเลือก แกนเทียมช่วยให้ผู้ชายสามารถควบคุมการแข็งตัวได้ตามต้องการ
  9. ยาสมุนไพรและอาหารเสริม: มีบางผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเสริมสมรรถภาพทางเพศ เช่น แปะก๊วย (Ginkgo biloba), โสม (Ginseng) และโยฮิมบีน (Yohimbine) แต่ควรใช้ภายใต้การแนะนำของแพทย์เนื่องจากอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ หรือมีผลข้างเคียง

ทั้งนี้ทั้งนั้นการรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศควรเริ่มต้นด้วยการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการรักษาที่ถูกต้อง สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตรัก และเสริมสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน

ตรวจและรักษาโรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อมได้ที่ S’RENE by SLC คลินิกสุขภาพสำหรับคนเมือง

อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ส่งผลให้เกิด ‘ปัญหาเซ็กส์เสื่อม’ ซึ่งไม่ได้เกิดแค่กับคุณผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงก็เป็นตัวแปรหนึ่ง หากทั้งคู่ทำความรู้จัก และรู้ที่มาที่ไปว่าอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเป็นอย่างไร และรีบรักษาเสื่อมสมรรถภาพ เพราะถ้าหากปล่อยปะละเลย และทิ้งไว้ อาจจะทำให้มีอาการหนักขึ้น หรือหมดสมรรถภาพ และส่งผลต่อชีวิตรัก ความสัมพันธ์ รวมถึงเรื่องบนเตียงได้ โดยที่ S’RENE by SLC มีการรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพหลายรูปแบบ และครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น

  • ตรวจสุขภาพฮอร์โมนเพศ: เบื้องต้นจะมีโปรแกรม His&Her Wellness Checkup ซึ่งเป็นการตรวจสุขภาพเพศ เช็กระดับฮอร์โมนด้วยการตรวจผลเลือดก่อน จากนั้นถึงจะมาประเมินโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อดูว่าปัญหาเสื่อมสมรรถภาพที่มีนั้น มาจากสาเหตุ หรือต้นตอตรงไหน จะได้ทำการรักษาได้ถูกวิธี และเหมาะสม อีกทั้งยังต้องดูจากปัญหาที่มีว่ามีอาการหนักขนาดไหน 
  • การรักษาด้วยการฉีด P Shot: ที่ S’RENE by SLC มีโปรแกรม S’RENE P Booster โดยจะช่วยรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพเพศของคุณผู้ชายด้วยการฉีด P-Shot (PRP) หรือก็คือการฉีดพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) เข้าไปในอวัยวะเพศชาย เพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูเนื้อเยื่อ และเพิ่มการไหลเวียนเลือด ช่วยเสริมสร้าง และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ผลลัพธ์ที่ได้คือช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ การแข็งตัวที่ดีขึ้น และความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ หรือจะอัปเกรดเป็น S’RENE Premium P Booster ที่เป็นการฉีด P Shot ด้วยเซลล์ต้นกำเนิดก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น และส่งผลในระยะยาว
  • การรักษาด้วยการฉีด O Shot: สำหรับผู้หญิงก็จะมีโปรแกรม S’RENE Feminine Secrets โดยจะเป็นการการรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของคุณผู้หญิงด้วยการฉีด O Shot (PRP) ซึ่งเป็นการฉีดพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) เข้าสู่บริเวณจุด G และคลิตอริส เพื่อฟื้นฟูเนื้อเยื่อ และเพิ่มความไวในการตอบสนองทางเพศ รวมถึงช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในช่องคลอด หรือจะเลือกเป็น S’RENE Premium Feminine Secrets ที่เป็นการรักษาด้วยการฉีด O Shot กับเซลล์ต้นกำเนิด ก็จะช่วยให้เห็นผลลัพธ์ได้ในระยะที่ยาวขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ยังโปรแกรมการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าเป็นการรักษาด้วยเครื่อง Smart Focus Shockwave ที่เป็นการใช้คลื่นกระแทกหัวพิเศษ ที่ทำแล้วไม่เจ็บ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมตัวเอง พร้อมเร่งการฟื้นฟู สามารถทำคู่กับการฉีด P Shot ของคุณผู้ชาย จะทำให้แข็ง และอึดขึ้น ส่วนคุณผู้หญิง ก็จะเป็นการใช้เครื่อง Indiba ควบคู่ไปกับการทำ O Shot ก็จะช่วยทำให้น้องสาวกระชับ และมีน้ำหล่อลื่นมากขึ้นกว่าเดิม รวมไปถึงทั้งผู้หญิง และผู้ชาย สามารถมานั่งเก้าอี้ Magneto Stym™ Therapy เพียงไม่กี่นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อช่วงอุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของปัสสาวะเล็ด นกเขาไม่ชัน กับกระชับน้องสาว เพิ่มสัมผัสให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

สามารถเข้ามาปรึกษาสุขภาพเพศเบื้องต้น รวมถึงรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน His & Her Wellness กับ S’RENE by SLC สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือจองคิวได้ที่

  • สาขา ทองหล่อ – โทร: 064184 5237
  • สาขา Charn แจ้งวัฒนะ14 – โทร:  099 807 7261
  • สาขา Paradise Park ชั้น 3 – โทร  083 996 6959
  • LINE: @SRENEbySLC 

สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Erectile Dysfunction: Symptoms and Causes. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/erectile-dysfunction/symptoms-causes/syc-20355776

Erectile Dysfunction. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/10035-erectile-dysfunction

Female Sexual Dysfunction: Symptoms and Causes. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/female-sexual-dysfunction/symptoms-causes/syc-20372549

Sexual Dysfunction. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9121-sexual-dysfunction

อ้างอิง แบบ APA 

Erectile dysfunction – Symptoms and causes

Erectile Dysfunction (ED): Causes, Diagnosis & Treatment

Erectile dysfunction (impotence)

สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่