การเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย เป็นการรักษาผู้ที่มีอาการฮอร์โมนเพศชายที่ไม่สมดุล มีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ และเมื่อพูดถึงฮอร์โมนเพศชาย หลายคนอาจนึกถึงแค่ความแข็งแรงของร่างกาย หรือการมีรูปร่างที่ดูเป็นชาย แต่ความจริงแล้วฮอร์โมนเพศชาย หรือเทสโทสเตอโรน (Testosterone) มีบทบาทที่สำคัญมากกว่านั้น โดยฮอร์โมนนี้มีจะความสำคัญกับสุขภาพโดยรวมของทั้งเพศชายและเพศหญิง มีการทำงานที่ช่วยควบคุมหลากหลายกระบวนการในร่างกายซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพทางกาย จิตใจ และพลังงาน
นอกจากนี้ฮอร์โมนเพศชายในร่างกายยังมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม กล้ามเนื้อ และโครงกระดูก ซึ่งฮอร์โมนเพศชายนั้นเป็นสิ่งที่ต้องปรับสมดุลให้ดี เพื่อไม่ให้มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบฮอร์โมน ดังนั้นไม่ว่าจะหญิงหรือชาย ก็ควรที่จะทำความรู้จักกับฮอร์โมนเพศชายว่าคืออะไร มีบทบาทอย่างไร และสำคัญขนาดไหน แล้วถ้ามีปัญหาในเรื่องของความสมดุลก็ต้องหาวิธีเพิ่มฮอร์โมนชายกันแล้วล่ะ
ฮอร์โมนเพศชาย คืออะไร? สำคัญขนาดไหน?
ฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนหลักที่ควบคุมสมรรถภาพทางเพศ การสร้างกล้ามเนื้อ และการเจริญเติบโตของกระดูกของผู้ชาย นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลอารมณ์ พลังงาน และการเผาผลาญของร่างกาย รวมถึงการพัฒนากล้ามเนื้อ การผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และกระบวนการต่าง ๆ อีกด้วย
ซึ่งฮอร์โมนเพศชายนี้จะถูกสร้างขึ้นในอัณฑะของผู้ชายและรังไข่ของผู้หญิง (แต่มีปริมาณที่น้อยกว่า) โดยหลัก ๆ แล้วก็จะเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการพัฒนาทางเพศของผู้ชายซะส่วนใหญ่
โดยปกติแล้วระดับฮอร์โมนเพศชายจะสูงสุดในช่วงวัย 20-30 ปี แล้วหลังจากนั้นก็จะเริ่มลดลงเรื่อย ๆ ประมาณ 1-2% ต่อปี ซึ่งการลดลงของฮอร์โมนนี้สามารถส่งผลต่อสุขภาพหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ กล้ามเนื้อลีบ ความรู้สึกอ่อนเพลีย และอารมณ์แปรปรวน จึงต้องมีการเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย เพื่อทำการปรับสมดุล และฟื้นฟูสุขภาพนั่นเอง
ฮอร์โมนเพศชาย มีหน้าที่อะไรบ้าง ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?
ฮอร์โมนเพศชาย หรือเทสโทสเตอโรน (Testosterone) นั้น มีหน้าที่สำคัญหลายประการ อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญและมีผลต่อสุขภาพทั้งร่างกาย และจิตใจของผู้ชายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น
- ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย: การเพิ่มฮอร์โมนเพศชายในร่างกาย จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาของกล้ามเนื้อ และกระดูก รวมถึงช่วยเสริมสร้างและรักษามวลกล้ามเนื้อไว้ได้มากกว่าของผู้หญิง
- พัฒนาลักษณะทางเพศชาย: มีการเติบโตของขนในบริเวณต่าง ๆ เช่น หนวด เครา รวมถึงเสียงที่ทุ้ม หรือที่เราเรียกว่าเสียงแตกหนุ่ม
- กระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ: เพิ่มความต้องการทางเพศและช่วยในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะช่วยให้มีแรงกระตุ้นทางเพศ และยังส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้รู้สึกมีพลังมากขึ้น การขาดฮอร์โมนนี้อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรืออารมณ์แปรปรวนได้
- ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก: ฮอร์โมนเพศชายมีส่วนในการสร้างความหนาแน่นของมวลกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง หากระดับฮอร์โมนต่ำอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน
- ส่งเสริมการผลิตอสุจิ: มีบทบาทในการผลิตและพัฒนาอสุจิในระบบสืบพันธุ์
- ส่งผลต่ออารมณ์และพลังงาน: ช่วยในการรักษาสมดุลอารมณ์ ความกระตือรือร้น และระดับพลังงานในร่างกาย
- ช่วยในกระบวนการผลิตเม็ดเลือดแดง: มีบทบาทในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงในไขกระดูก ซึ่งสำคัญสำหรับการลำเลียงออกซิเจนในร่างกาย
แล้วฮอร์โมนเพศชายในผู้หญิง ทำหน้าที่อะไร?
แม้ว่าในร่างกายผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเพศชายในปริมาณที่น้อยกว่าผู้ชาย แต่ก็มีบทบาทสำคัญในสุขภาพโดยรวมของผู้หญิงด้วย เช่น การรักษามวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกระดูก และส่งผลต่ออารมณ์ การมีระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ภาวะอารมณ์แปรปรวน น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือความต้องการทางเพศลดลง หากมีฮอร์โมนเพศชายที่มากเกินไปก็อาจส่งผลในเรื่องของการมีขน และลักษณะทางเพศชายที่มากกว่าปกติ
ระดับฮอร์โมนเพศชายปกติ ควรอยู่ที่เท่าไหร่ ถ้าน้อยกว่านี้จะเกิดอะไรขึ้น?
ระดับฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ปกติแล้วในผู้ชายมีค่าประมาณ 300-1,000 นาโนกรัมต่อเดซิลิตร (ng/dL) ขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของแต่ละบุคคล โดยค่าที่ต่ำกว่า 300 ng/dL ถือว่าเป็นภาวะฮอร์โมนต่ำ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพทางเพศ พลังงาน และอารมณ์ การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายสามารถทำได้โดยการตรวจเลือดและควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อการประเมิน และการรักษาที่ถูกต้อง
ฮอร์โมนเพศชายอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลกระทบอะไรได้บ้าง?
หากผู้ชายมีฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในระดับต่ำ นั้นหมายความว่า มีฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ต้องรีบเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย ไม่อย่างนั้นจะส่งผลกระทบหลากหลายด้าน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเทสโทสเตอโรนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อระดับฮอร์โมนนี้ลดต่ำลง อาจทำให้เกิดผลกระทบดังต่อไปนี้
- ผลกระทบต่อสุขภาพทางเพศ
- ความต้องการทางเพศลดลง: ฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำอาจทำให้ความสนใจหรือความต้องการทางเพศลดลง ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อย
- การแข็งตัวของอวัยวะเพศมีปัญหา: อาจทำให้การแข็งตัวไม่เต็มที่ หรือไม่แข็งตัวบ่อยเหมือนเดิม แม้จะมีความต้องการทางเพศ และอาจส่งทำให้นกเขาไม่ขัน
- การผลิตน้ำอสุจิลดลง: เมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ การผลิตน้ำอสุจิอาจลดลง ส่งผลให้จำนวนอสุจิลดลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการมีบุตร
- ผลกระทบต่อพลังงานและความแข็งแรง
- เหนื่อยล้าและพลังงานต่ำ: คนที่มีฮอร์โมนเพศชายต่ำมักจะรู้สึกเหนื่อยง่าย ขาดพลังงาน หรืออ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ แม้จะพักผ่อนเพียงพอแล้วก็ตาม
- สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ: ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนช่วยในการเจริญเติบโตและรักษากล้ามเนื้อ หากระดับต่ำลงอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอและสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
- ผลกระทบต่อไขมันและน้ำหนักตัว
- การเพิ่มของไขมันในร่างกาย: ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ต่ำอาจทำให้ร่างกายสะสมไขมันมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง
- เต้านมขยาย (Gynecomastia): ในบางกรณี การที่ฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุลกับฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจทำให้เต้านมขยาย
- ผลกระทบต่อสุขภาพจิต
- ภาวะซึมเศร้า: การที่ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำสามารถทำให้เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า หรือความรู้สึกเศร้าได้
- อารมณ์แปรปรวน: ความรู้สึกหงุดหงิดหรืออารมณ์ไม่คงที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำลง
- ความมั่นใจลดลง: การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและความรู้สึกอาจทำให้ความมั่นใจในตนเองลดลง
- ผลกระทบต่อสุขภาพกระดูก
- ความหนาแน่นของกระดูกลดลง: ฮอร์โมนเพศชายมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก เมื่อระดับต่ำลงอาจทำให้กระดูกบางลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนหรือกระดูกหัก
- มีอาการปวดตามข้อ: ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำอาจสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของการอักเสบในร่างกาย ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการปวดตามข้อหรืออาการข้ออักเสบ (arthritis) ได้ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายยังอาจทำให้ข้อต่อมีความไวต่อความเจ็บปวดมากขึ้น
- ผลกระทบต่อการนอนหลับ
- นอนหลับไม่เพียงพอ: ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการนอนหลับ เช่น การนอนหลับไม่สนิท หรือรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา
- ผลกระทบต่อสมองและการทำงานของสมอง
- ความจำลดลง: ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง การที่ระดับฮอร์โมนนี้ต่ำอาจส่งผลต่อความจำและสมาธิ
- ความสามารถในการทำงานลดลง: ความเหนื่อยล้าและอารมณ์ที่ไม่คงที่อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจฮอร์โมนเพศชายบ้าง?
การตรวจฮอร์โมนเพศชายจะช่วยวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้ รวมถึงการเพิ่มฮอร์โมนเพศชายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากต้องรักษาจริง ๆ โดยผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจฮอร์โมนเพศชาย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- ผู้ที่มีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ: เช่น การแข็งตัวของอวัยวะเพศยากขึ้น หรือความต้องการทางเพศลดลง
- ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง: รู้สึกเหนื่อยง่าย พลังงานต่ำ หรือมีภาวะซึมเศร้า
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการสร้างกล้ามเนื้อและไขมันสะสมมากขึ้น: แม้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็ยังมีปัญหาในเรื่องกล้ามเนื้อ
- ผู้ที่มีปัญหาการนอน: นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน: หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
- ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน: หรือมีความเสี่ยงกระดูกเปราะบางมากกว่าปกติ
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ: หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
- ผู้ที่มีการพักผ่อนไม่เพียงพอ: ขาดการออกกำลังกาย และมีความเครียด
- ผู้ที่เคยได้รับเคมีบำบัด: หรือมีการฉายแสงบริเวณอุ้งเชิงกราน
- ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดบริเวณอัณฑะ: หรือบริเวณขาหนีบ และภายในอุ้งเชิงกราน
สัญญาณที่อาจบอกว่าคุณกำลังมีปัญหาฮอร์โมนเพศชายต่ำ มาเช็กดูกันดีกว่ามีอาการเหล่านี้ไหม!
ถ้าหากคุณไม่แน่ใจว่า กำลังมีฮอร์โมนที่ไม่สมดุล หรือมีฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำ เรามาดูกันก่อนว่ามีสัญญาณอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าระดับฮอร์โมนเพศชายของคุณอาจต่ำเกินไป และถ้าหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ การเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายอาจช่วยให้กลับมามีชีวิตชีวาได้อีกครั้ง
- ความต้องการทางเพศลดลง: หนึ่งในสัญญาณแรก ๆ ของระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำคือความต้องการทางเพศที่ลดลง เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนหลักที่มีบทบาทในการกระตุ้นความต้องการทางเพศ ดังนั้น หากรู้สึกว่าสนใจเรื่องเพศน้อยลง อาจเป็นสัญญาณว่าฮอร์โมนเพศชายกำลังลดลง
- การแข็งตัวของอวัยวะเพศมีปัญหา: ไม่สามารถแข็งตัวได้อย่างเต็มที่ หรือไม่แข็งตัวบ่อยเหมือนเดิม แม้จะมีความต้องการทางเพศอยู่ก็ตาม รวมถึงอาจมีอาการหลั่งเร็ว หรือหลั่งช้า ก็อาจเป็นสัญญาณบอกว่าฮอร์โมนเพศกำลังมีปัญหา
- เหนื่อยล้าและพลังงานต่ำ: หากรู้สึกเหนื่อยล้าเป็นประจำ แม้จะพักผ่อนเพียงพอแล้ว หรือรู้สึกว่าพลังงานลดลงตลอดเวลา อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
- สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ: กล้ามเนื้ออ่อนแอลง สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ มีการสร้างกล้ามเนื้อยากขึ้น แม้จะยังคงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออยู่ก็ตาม แต่กล้ามเนื้อไม่ขึ้น หรือมีอาการกล้ามเนื้อลีบ
- อ้วนลงพุง: สังเกตว่ามีไขมันสะสมมากขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณหน้าท้อง
- อารมณ์แปรปรวน: รู้สึกหงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า หรือขาดสมาธิในการทำงาน
- มีปัญหาเรื่องการนอน: เช่น นอนไม่หลับ หรือตื่นกลางดึกบ่อย ๆ
- ความหนาแน่นของกระดูกลดลง: หากตรวจด้วย Dexa Scan แล้วพบว่า มีความหนาแน่นของกระดูกลดลง อาจเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน และฮอร์โมนผิดปกติ
ขั้นตอนในการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายที่ S’RENE by SLC
สำหรับขั้นตอนในการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายที่ S’RENE by SLC จะใช้วิธีในการตรวจเลือด ซึ่งที่นีมีโปรแกรมตรวจสุขภาพเพศ และตรวจฮอร์โมนเพศอย่าง His & Her Wellness Lab Check Up โดยจะมีให้เลือก 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับปัญหา และอาการของผู้ที่เข้ามารับบริการ โดยจะมีขั้นตอนง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก ประกอบไปด้วย
- นัดจองคิว: ต้องทำการจองคิว และนัดวันที่เข้ามาตรวจกับแพทย์ พร้อมบอกรายละเอียดเบื้องต้น
- พูดคุยปรึกษาแพทย์: บอกรายละเอียด อาการ ซึ่งแพทย์จะเก็บข้อมูล เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง จากนั้นถึงจะไปในขั้นตอนถัดไป
- การเตรียมตัวก่อนตรวจ: ไม่ต้องอดอาหาร สามารถดื่มน้ำได้ตามปกติ แต่ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ หากมีโรคประจำตัว หรือประวัติแพ้ยา ควรแจ้งให้ทราบ เพื่อให้แพทย์ได้ประเมินผลที่ถูกต้อง
- การเจาะเลือด: แพทย์หรือพยาบาลจะเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดดำที่แขน เพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศชายในห้องปฏิบัติการ
- การประเมินผล: แพทย์จะนัดวัด และอธิบายผลตรวจ พร้อมแสดงระดับฮอร์โมนเพศชายในเลือด แพทย์จะประเมินว่าค่าที่ได้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป ทั้งนี้หากไม่สามารถเข้ามาที่คลินิกได้ สามารถฟังผลผ่านทางออนไลน์ได้
วิธีการเพิ่มฮอร์โมนเพศชายด้วยวิธีแบบธรรมชาติ ทำได้เองไม่ยาก!
ก่อนที่จะไปดูวิธีเพิ่มฮอร์โมนเพศชายโดยการรักษา ลองเพิ่มฮอร์โมนเพศชายแบบธรรมชาติดูก่อนไหม โดยสามารถทำได้โดยปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งเสริมการผลิตฮอร์โมนนี้ในร่างกาย โดยวิธีเหล่านี้สามารถช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและส่งเสริมสุขภาพโดยรวมได้
- การออกกำลังกาย
- การฝึกแบบเวทเทรนนิ่ง (Weight Training): การยกน้ำหนักและการฝึกแบบมีแรงต้านช่วยกระตุ้นการผลิตเทสโทสเตอโรน โดยเฉพาะการฝึกกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ เช่น ขาและหลัง
- การฝึกแบบ High-Intensity Interval Training (HIIT): การออกกำลังกายแบบหนักสลับเบาช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การรับประทานอาหารเพิ่มฮอร์โมนเพศชายที่เหมาะสม
- โปรตีนเพียงพอ: การบริโภคโปรตีนช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อและส่งเสริมการหลั่งเทสโทสเตอโรน
- ไขมันดี: ไขมันที่มีประโยชน์ เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด และถั่ว ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ดีขึ้น
- คาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใย: การรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใย เช่น ข้าวกล้อง ควีนัว หรือธัญพืชเต็มเมล็ด ช่วยให้ร่างกายมีพลังงานและเสริมการผลิตฮอร์โมน
- การนอนหลับอย่างเพียงพอ
การนอนหลับอย่างมีคุณภาพประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูและผลิตฮอร์โมนเพศชายได้อย่างเหมาะสม การนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้ระดับฮอร์โมนนี้ลดลง
- การลดความเครียด
ระดับความเครียดที่สูงสามารถทำให้ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้เทสโทสเตอโรนลดลง วิธีการลดความเครียด เช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือการออกกำลังกายแบบผ่อนคลาย ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนให้คงที่
- การควบคุมน้ำหนัก
การมีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนสามารถทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำลงได้ การลดน้ำหนักส่วนเกินจะช่วยให้ระดับฮอร์โมนกลับมาสู่ภาวะปกติ
- การบริโภควิตามินเพิ่มฮอร์โมนเพศชายและแร่ธาตุเสริม
- วิตามินดี: วิตามินดีมีบทบาทสำคัญในการผลิตเทสโทสเตอโรน การรับประทานวิตามินดีเสริมหรือรับแสงแดดอย่างเหมาะสมช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนได้
- สังกะสี (Zinc): การบริโภคอาหารที่มีสังกะสีสูง เช่น หอยนางรม เนื้อสัตว์ และถั่ว ช่วยในการกระตุ้นการผลิตเทสโทสเตอโรน
- แมกนีเซียม: แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูระดับฮอร์โมน โดยเฉพาะในผู้ที่ออกกำลังกายบ่อย ๆ
- การหลีกเลี่ยงสารเคมีที่อาจรบกวนฮอร์โมน
หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจนหรือสารเคมีที่อาจรบกวนระบบฮอร์โมน เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีบิสฟีนอล เอ (BPA) และสารกันบูดบางชนิด
การเพิ่มฮอร์โมนเพศชายแบบธรรมชาติด้วยวิธีเหล่านี้เป็นทางเลือกที่ดีและปลอดภัยในการส่งเสริมสุขภาพ ควรทำอย่างต่อเนื่องและปรับตามความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคน แต่ถ้าหากทำแล้วยังไม่ช่วย ก็รีบมาปรึกษาแพทย์ที่ S’RENE by SLC ได้เลย
เพิ่มฮอร์โมนเพศชายได้ที่ S’RENE by SLC คลินิกสุขภาพสำหรับคนเมือง
หากคุณตรวจฮอร์โมนเพศแล้วพบว่ามีปัญหาในเรื่องของฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำ หรือไม่สมดุล สำหรับที่ S’RENE by SLC คลินิกสุขภาพสำหรับคนเมือง มีบริการที่ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศชายเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนและฟื้นฟูสุขภาพ โดย S’RENE by SLC เป็นคลินิกที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพอย่างครอบคลุมและการปรับสมดุลฮอร์โมนที่ปลอดภัย มีการให้คำปรึกษาและแนวทางการรักษาที่หลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะโปรแกรม S’RENE Hormonal Booster For Men (15,000.- / ครั้ง) ซึ่งเป็นโปรแกรมการรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายด้วยการฉีด T Shot ซึ่งมีการใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ในการรักษา
- ช่วยในเรื่องของปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชายและกระตุ้นฮอร์โมนเพศชาย
- ช่วยเพิ่มสมรรถภาพ และความต้องการทางเพศ
- เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของร่างกาย
- ช่วยปรับอารมณ์ และรักษาภาวะวัยทองของผู้ชาย
นอกจากนี้แพทย์ของซีรีนยังให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และการแนะนำวิตามินอย่าง IV DRIP หรืออาจจะต้องทานอาหารเสริมฮอร์โมนเพศชายควบคู่กับการรักษาในการเพิ่มระดับฮอร์โมน รวมถึงแนะนำให้มีการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจเช็กสุขภาพฮอร์โมนเป็นประจำก็เพื่อดูแนวโน้มของระดับฮอร์โมน ซึ่งจะทำให้สามารถปรับการรักษาได้ตามความเหมาะสม พร้อมลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล
ใครที่กำลังมีปัญหาในเรื่องฮอร์โมนไม่สมดุล หรือสนใจปรึกษาเรื่องฮอร์โมน สามารถเข้ามาปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน และชำนาญด้าน His & Her Wellness โดยเฉพาะกับ S’RENE by SLC สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือจองคิวได้ที่
- สาขา ทองหล่อ – โทร 064 184 5237
- สาขา ชาน แจ้งวัฒนะ – โทร 099 807 7261
- สาขา พาราไดซ์ พาร์ค ชั้น 3 – โทร 083 996 6959
- สาขา เซ็นทรัลลาดพร้าว ชั้น 6 – โทร 080 245 7669
อ้างอิง แบบ APA
8 Ways to Naturally Increase Testosterone: Exercise, Diet, Sleep
Natural Ways to Boost Testosterone
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.healthline.com/health/what-is-testosterone
https://my.clevelandclinic.org/health/articles/24101-testosterone
https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/testosterone–what-it-does-and-doesnt-do
https://www.medicalnewstoday.com/articles/276013
สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่