เรื่องน่ารู้

Blogs

หลั่งช้า หรือ เสร็จยาก มีเพศสัมพันธ์นานเกินไป กลายเป็นปัญหาใหญ่!

คุณผู้ชายเคยเจอปัญหานี้กันบ้างมั้ย? มีเซ็กส์นานเกินจนผู้หญิงเบื่อ ทำเท่าไหร่ก็ไม่เสร็จซะที กว่าจะถึงจุดสุดยอดได้ทำไมมันนานจัง ปัญหาเหล่านี้ถูกเรียกว่า ‘การหลั่งช้า’ เป็นปัญหาโลกแตกเลยก็ว่าได้ เพราะการที่น้องชายของเราหลั่งช้าเสร็จยาก หรือไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้ เป็นปัญหาสุขภาพเพศที่ไม่ได้ส่งผลต่อผู้ชายเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลถึงคู่สัมพันธ์ของเรา อาจทำให้เกิดความไม่พอใจในเรื่องเพศ ความไม่มั่นใจ อีกทั้งยังรวมถึงความไม่สมบูรณ์ในการมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย

การหลั่งช้าในผู้ชายไทย อาจจะดูไม่ค่อยมีใครเป็นปัญหานี้ซักเท่าไหร่นัก หรือพบได้น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่แล้วจะพบเจอแต่ปัญหาหลั่งเร็วมากกว่า แต่ปัญหาในการหลั่งช้าก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายทุกวัย โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ส่วนคนที่ยังไม่เคยมีปัญหาสุขภาพเพศมาก่อนก็มีสิทธิ์ที่จะเกิดอาการนี้ได้ด้วยหลาย ๆ ปัจจัย 

ถึงแม้ว่าหลายคนอาจคิดว่า ภาวะหลั่งช้านี้ เป็นเรื่องที่ดี เพราะแสดงว่าเราอึดหรือเปล่านะ? หรือมีเซ็กส์ได้ยาวนาน แต่สำหรับผู้ที่กำลังประสบกับปัญหานี้อยู่จริง ๆ อาจรู้สึกไม่สบายใจ และส่งผลต่อภาพรวมในการมีเซ็กส์ได้ ดังนั้นควรทำความเข้าใจถึงปัญหาการหลั่งช้า ทั้งอาการ สาเหตุที่ผู้ชายหลั่งช้า ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น รวมถึงผลกระทบต่าง ๆ เพื่อเตรียมตัว และรับมือ เมื่อคุณผู้ชายมีอาการเสร็จช้าได้

หลั่งช้า คืออะไร?

ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่า อาการเสร็จช้า หรือการหลั่งล่าช้า จะถูกเรียกว่า Delayed Ejaculation (DE) คืออาการที่ผู้ชายไม่สามารถถึงจุดสุดยอด หรือไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิออกมาได้ภายในเวลาปกติ หลังจากที่มีการสอดใส่ หรือมีเพศสัมพันธ์ 

ซึ่งถ้าหากดูตามคำจำกัดความใน DSM-5 ก็คือการที่ผู้ชายมีความยากลำบาก หรือไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีความต้องการทางเพศ ความตื่นตัว และการกระตุ้นที่เพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งในการวินิจฉัยภาวะนี้ ผู้ป่วยจะต้องมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งในสองข้อ ได้แก่ การหลั่งช้า หรือการหลั่งที่เกิดขึ้นไม่บ่อยถึง 75-100% ของกิจกรรมทางเพศทั้งหมดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยอาการนี้สามารถจำแนกได้ว่าเป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง รวมถึงสามารถเกิดได้ทั่วไป หรือเกิดในสถานการณ์เฉพาะ ส่วนใหญ่คำนี้มักใช้เรียกภาวะที่ผู้ชายไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอน แม้ว่าจะสามารถแข็งตัวและรักษาการแข็งตัวได้ดี ซึ่งปกติแล้วผู้ชายที่มีภาวะ DE มักสามารถหลั่งได้เมื่อช่วยตัวเอง หรือขณะหลับ

ส่วนอาการที่ไม่เสร็จเลย หรือไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ อาจจะเป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือมีในส่วนของปัญหานกเขาไม่ขัน เลยไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ ทำให้การหลั่งช้านั้น ยังสามารถแข็งตัวได้อยู่ แต่จะใช้เวลาในการมีเพศสัมพันธ์ที่นานเกินไป อาจจะส่งผลกระทบได้หลายทางเช่นกัน 

อาการแบบไหนคือการหลั่งช้า คุณกำลังพบปัญหานี้อยู่หรือไม่?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า อาการหลั่งช้า คือการที่ผู้ชายไม่สามารถถึงจุดสุดยอด และหลั่งน้ำอสุจิออกมาได้ ขณะมีเพศสัมพันธ์ แม้ว่าจะถูกกระตุ้นทางเพศอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม โดยอาการที่บ่งบอกว่า คุณอาจจะกำลังมีอาการหลั่งช้าอยู่ มีดังนี้

  • ใช้เวลานานถึง 30 นาที  หรือมากกว่านั้นกว่าจะถึงจุดสุดยอด หรือ หลั่งช้าเกินไป
  • ไม่สามารถหลั่ง  หรือถึงจุดสุดยอดได้เลยในบางครั้ง
  • ต้องการการกระตุ้นเพิ่มเติมมากกว่าปกติ หรือมีความยากลำบากในการถึงจุดสุดยอด
  • แม้ว่ามีการกระตุ้นทางเพศมากกว่าปกติแล้ว ก็ยังไม่สามารถทำให้ถึงจุดสุดยอดได้
  • มีเพศสัมพันธ์ที่ยาวนานเกินกว่าปกติ 
  • มีอาการเหนื่อยล้า และเบื่อหน่ายระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากความยาวนาน
  • รู้สึกไม่พอใจหรือขาดความสุขจากการมีเพศสัมพันธ์
  • มีความเครียดหรือกังวลเกี่ยวกับการถึงจุดสุดยอด
  • ไม่สามารถหลั่งได้ระหว่างการสอดใส่ แต่หลั่งได้จากการกระตุ้นด้วยมือ

คู่รักของคุณอาจรู้สึกแย่ หรือเข้าใจผิดว่าตนเองไม่ดึงดูด หรือไม่มีทักษะเพียงพอที่จะทำให้คุณถึงจุดสุดยอดได้ สิ่งที่สำคัญจริง ๆ คือความรู้สึกของคุณเอง หากคุณรู้สึกหงุดหงิด หรือไม่สบายใจกับระยะเวลาที่ใช้ในการหลั่ง หรือถ้าคุณไม่สามารถหลั่งได้เลย นั่นแสดงว่ามีปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข

เวลาที่ใช้ในการหลั่ง ประมาณไหนถึงจะดีที่สุด?

โดยปกติแล้ว การหลั่งน้ำอสุจิของผู้ชาย ในแต่ละครั้งจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 5-7 นาที แต่ในกรณีที่มีภาวะหลั่งช้า อาจจะใช้เวลานานกว่า หรือยืดเยื้อจนเกินครึ่งชั่วโมง จนไปถึงไม่สามารถหลั่งได้เลย ส่วนเวลาในการเสร็จ หรือหลั่งน้ำอสุจิของผู้ชายแต่ละคนนั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ทั้งภายใน และภายนอก ซึ่งไม่ได้มีกฎตายตัวเกี่ยวกับเวลาที่ “เหมาะสม” ในการถึงจุดสุดยอดของผู้ชายว่าจะต้องเป็นเวลาเท่านี้  แต่ถ้าอยากจะได้ตัววัดจริง ๆ ว่า 

แล้วเวลาแค่ไหนที่เรียกว่าช้า? ก็ต้องพามาทำความรู้จักกับ Intravaginal Ejaculatory Latency Time หรือ IELT เป็นระยะเวลาการหลั่งภายในช่องคลอด ช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มสอดใส่อวัยวะเพศเข้าสู่ช่องคลอดจนถึงการหลั่งในช่องคลอด โดยมีคนเสนอว่าถ้าทำกิจกรรมไปประมาณ 20-25 นาที แสดงว่าคุณอาจมีภาวะอาการหลั่งช้า แต่ก็ยังมีบางทีบอกว่า หากวัดจากค่าเฉลี่ยของผู้ชายแล้ว หากเกิน 10 นาทีไปแล้วยังไม่สามารถทำให้เกิดความพึงพอใจทางเพศได้ ก็ถือว่ามีอาการหลั่งช้า 

อย่างไรก็ตาม เราก็สามารถแบ่งระยะเวลาการหลั่งออกเป็น 3 ระดับหลัก ๆ ตามความยาวของเวลาในการถึงจุดสุดยอด ซึ่งประกอบด้วย

  • Premature Ejaculation (การหลั่งเร็ว): เกิดขึ้นภายใน 1-2 นาทีหลังจากเริ่มมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่สามารถควบคุมได้
  • Normal Ejaculation (การหลั่งปกติ): ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาทีในการหลั่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ถือว่าเป็นระยะเวลาการหลั่งปกติ ไม่มีความผิดปกติ หรือมีปัญหาในการถึงจุดสุดยอด
  • Delayed Ejaculation (การหลั่งช้า): ใช้เวลานานกว่า 30 นาที โดยต้องใช้เวลาที่นาน กว่าจะมีหลั่งน้ำอสุจิ และถึงจุดสุดยอด หรือบางครั้งอาจไม่สามารถหลั่งได้เลย ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทางกายและจิตใจ รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคู่รักได้

การหลั่งช้า หรือเสร็จยาก เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?

การหลั่งช้าเกิดจากสาเหตุทั้งทางกายภาพ และจิตใจได้ โดยไม่ว่าจะมีสาเหตุใด สาเหตุหนึ่งก็อาจเกิดอาการหลั่งช้าได้ ทำให้การทำความเข้าใจสาเหตุเหล่านี้จะช่วยให้สามารถหาวิธีจัดการ และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

สาเหตุทางกายภาพ

  • อายุที่เพิ่มขึ้น: การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่มาพร้อมกับอายุ สามารถส่งผลต่อการหลั่งได้ อาจใช้เวลานานกว่าเดิม โดยเฉพาะวัยทองผู้ชายก็อาจจะมีปัญหานี้ได้มากกว่าวัยอื่น
  • ฮอร์โมนไม่สมดุล: ยิ่งอายุเยอะ ฮอร์โมนเพศชายก็ยิ่งลดลง ส่งผลถึงปัญหาในเรื่องเพศได้
  • ภาวะระบบประสาท: เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) การบาดเจ็บของเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นได้จากโรคเบาหวานและการผ่าตัด
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism)
  • โรคเบาหวาน: อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทและการไหลเวียนของเลือด
  • การอุดตันในอวัยวะเพศ: การอุดตันบางประเภทในอวัยวะเพศชายอาจทำให้การหลั่งช้าลงได้
  • การใช้ยาบางชนิด: เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิต หรือยาขับปัสสาวะ (Diuretics) สามารถรบกวนการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการหลั่ง
  • การรักษาทางการแพทย์บางอย่าง: เช่น การผ่าตัดต่อมลูกหมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะการหลั่งล่าช้าได้
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป: โดยเฉพาะการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุการหลั่งช้า อันดับต้น ๆ อาจทำให้การทำงานของระบบประสาทเสื่อมลง และส่งผลต่อการหลั่ง

สาเหตุทางจิตใจหรืออารมณ์

  • ภาวะทางจิตใจ: เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือความวิตกกังวล สามารถส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการหลั่ง
  • ความรู้สึกผิดเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์: อาจมาจากการเลี้ยงดู หรือค่านิยมในวัยเด็ก
  • ปัญหาความสัมพันธ์: ความรู้สึกโกรธหรือไม่สบายใจกับคู่รัก อาจส่งผลให้เกิดการไม่ลงรอยหรือความเครียดในการมีเพศสัมพันธ์
  • ความกลัวบางอย่าง: เช่น กลัวการติดโรค, การตั้งครรภ์ หรือกลัวว่าจะทำร้ายคู่ของตน
  • ความวิตกกังวลในการมีเพศสัมพันธ์: การกังวลเรื่องสมรรถภาพทางเพศอาจทำให้เกิดปัญหาการหลั่งล่าช้าได้
  • การเสพติดสื่อลามก: การเสพติดสื่อลามกอาจทำให้มีปัญหาในการถึงจุดสุดยอดกับคู่รักในชีวิตจริง

วิธีแก้อาการหลั่งช้า ทำเท่าไรก็ไม่เสร็จซะที!

สำหรับวิธีแก้อาการหลั่งช้า อาจจะต้องบอกว่าไม่ได้มีวิธีรักษาที่ตายตัวซะทีเดียว แต่จะเป็นการหาสาเหตุที่แท้จริง หรือต้นตอของปัญหาที่ทำให้เกิดการหลั่งช้า เนื่องจากว่าอาการนี้มีสาเหตุมาจากหลายทาง ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของตนเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการหาวิธีการรักษา เพื่อจะได้รักษาได้อย่างตรงจุด การมาปรึกษาแพทย์เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับต้น ๆ รวมถึงควรเช็กสุขภาพฮอร์โมนก่อน แต่ถ้าใครคิดว่ามีอาการหลั่งช้า ก็สามารถรักษาแบบเบื้องต้น แก้หลั่งช้าได้ก่อน ด้วยวิธีเหล่านี้ 

1. ฝึกเทคนิคหยุด-เริ่มใหม่ ควบคุมได้ไม่ต้องรีบ!

เคยไหมที่ถึงจุดพีคแต่รู้สึกว่ายังอยากให้เกมดำเนินต่อ? นี่แหละ เทคนิคหยุด-เริ่มใหม่! โดยเมื่อใกล้ถึงจุดสุดยอด ลองหยุดสักครู่ ผ่อนคลาย แล้วเริ่มใหม่ การฝึกควบคุมแบบนี้จะช่วยให้เราคุ้นชินกับการหลั่งช้าขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมร่างกาย และเพิ่มความมั่นใจได้อีกด้วย

2. ปรับยาให้เข้าที่ ปรึกษาหมอให้เร็วไว!

หากคุณมีการใช้ยาต้านซึมเศร้า หรือยารักษาความดันโลหิต แล้วพบว่ามีปัญหาการหลั่งช้า นั่นอาจเป็นผลข้างเคียงของยา ลองนัดพบแพทย์แล้วแจ้งปัญหานี้ดู แพทย์จะสามารถปรับขนาดยา หรือเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นที่ไม่มีผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศได้ อย่างนี้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจจะดีขึ้นพร้อมกัน!

3. บำบัดจิตใจ ผ่อนคลายให้มันส์กว่าเดิม!

เครียดมากไปหรือเปล่า? การหลั่งช้าอาจเกิดจากความเครียดหรือความกดดันที่เราตั้งไว้กับตัวเอง การเข้าพบนักจิตวิทยา หรือที่ปรึกษาเพื่อรับการบำบัดทางจิตใจเป็นการปลดปล่อยความเครียด ลองฝึกการหายใจเข้าลึก ๆ แล้วปล่อยลมหายใจช้า ๆ ช่วยให้จิตใจสงบระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้ดีขึ้น 

4. บำรุงร่างกายด้วยสมุนไพรและวิตามิน

ลองหาสมุนไพร หรือวิตามินเสริมบำรุงร่างกาย เช่น โสม ที่ขึ้นชื่อเรื่องการกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดและพลังทางเพศ นอกจากนี้ วิตามินบีต่าง ๆ ยังช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น แถมยังช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นและกระฉับกระเฉงมากขึ้นอีกด้วย

5. เปิดใจกับคู่รัก เกมนี้เราเล่นเป็นทีม!

บางครั้งปัญหาการหลั่งช้าอาจเกิดจากความกังวลว่าเราทำให้คู่รักไม่พอใจ ลองเปิดใจพูดคุยถึงความรู้สึกและความต้องการของทั้งสองฝ่าย ซึ่งการสื่อสารที่ดีจะทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และลดความกดดันในการมีเพศสัมพันธ์ ถ้ารู้สึกสบายใจ เกมก็จะไหลลื่นไปได้เอง หรือจะเน้นไปที่การเล้าโลมให้มากขึ้น ก็อาจจะช่วยได้ในระดับนึง

6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพิ่มพลังพร้อมเมื่อใดก็ได้!

ถ้าร่างกายแข็งแรง จิตใจก็พร้อม! ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น และยังช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วกว่าเดิม โดยการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ หรือโยคะ ยังช่วยลดความเครียด และเพิ่มความรู้สึกมั่นใจได้อีกด้วย

7. พักผ่อนให้พอ อย่าให้ร่างกายล้าเกินไป

การนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ คือกุญแจสำคัญในการทำให้ร่างกายพร้อมสำหรับทุกกิจกรรม เมื่อเราพักผ่อนอย่างเต็มที่ ร่างกายจะฟื้นตัวและมีพลังมากขึ้น รวมถึงสมรรถภาพทางเพศก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าลืมนอนหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน 

8. ลดหรือเลิกสารเสพติด 

การดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่มากเกินไปอาจส่งผลต่อการหลั่ง ลองลดหรือเลิกสิ่งเหล่านี้ดู ไม่เพียงแค่ทำให้การหลั่งช้าดีขึ้น แต่ยังทำให้สุขภาพโดยรวมของคุณดีขึ้นอีกด้วย

9. ตรวจสุขภาพ เช็กฮอร์โมนเพศ ปรึกษาแพทย์!

สุดท้ายถ้าใครยังรู้สึกว่าตัวเองยังมีอาการหลั่งช้าอยู่ แนะนำว่าให้เข้ามาตรวจสุขภาพ เช็กดูระดับฮอร์โมนเพศ รวมถึงพูดคุยปรึกษากับแพทย์ เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีแก้การหลั่งช้า หรือเสริมด้วยทรีตเมนต์ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น Magneto STYM™ Therapy หรือเพิ่มสมรรถภาพทางเพศด้วยการฉีด PRP และอื่น ๆ อีกมากมาย

ปรึกษาอาการหลั่งช้า ได้ที่ S’RENE คลินิกสุขภาพคนเมือง

สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการหลั่งช้า ก่อนอื่นเราต้องรู้สาเหตุว่ามาจากอะไร หรือมาจากปัจจัยไหนเป็นพิเศษ แต่ทางที่ดีที่สุดอย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า ควรรับการตรวจฮอร์โมนเพศก่อน เพื่อเช็กรายละเอียดว่าในร่างกายเรามีความไม่สมดุลของฮอร์โมนหรือเปล่า หรือมีปัญหาที่อวัยวะเพศ ทำให้ไม่สามารถหลั่งอสุจิได้ โดยที่ S’RENE by SLC มีบริการการตรวจสุขภาพฮอร์โมนเพศ His & Her Wellness Lab Check Up Level 3 (20 รายการตรวจ ราคา 15,900 บาท) เพื่อตรวจลึกลงไปหาสาเหตุที่แท้จริง นอกจากนี้ก็ยังมีการรักษา และฟื้นฟู เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ให้น้องชายของคุณสตรองขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น

S’RENE P Booster (1 ครั้ง 9,900 บาท) โปรแกรมการฉีด P-Shot ด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) ช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูเนื้อเยื่อ และหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้น้องชายแข็งแรงขึ้น รวมถึงสัมผัสที่ดีขึ้น

S’RENE Hormonal Booster For Men (1 ครั้ง 15,000 บาท) โปรแกรมการรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายด้วยการฉีด T Shot  ช่วยเพิ่มสมรรถภาพ และความต้องการทางเพศ เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยปรับอารมณ์ และรักษาภาวะวัยทองของผู้ชาย

Magneto STYM™ Therapy For Men (1 ครั้ง 30 นาที 2,500 บาท) โปรแกรมรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ด้วยเก้าอี้แม่เหล็กไฟฟ้า ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ น้องชายแข็งตัวได้ดีขึ้น

Smart Focus Shockwave For Men  (1 ครั้ง 9,900 บาท) ช่วยกระตุ้น และเร่งการฟื้นฟูน้องชายด้วยคลื่นกระแทกชนิดโฟกัส ช่วยให้เกิดการสร้างเส้นเลือดฝอย และช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยให้น้องชายเกิดการแข็งตัวได้ดีขึ้น

สามารถเข้ามาปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน His & Her Wellness โดยเฉพาะกับ S’RENE by SLC สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือจองคิวได้ที่

  • สาขา ทองหล่อ – โทร: 064 184 5237
  • สาขา Charn แจ้งวัฒนะ14 – โทร:  099 807 7261
  • สาขา Paradise Park ชั้น 3 – โทร  081 249 7055

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Rowland DL. Delayed Ejaculation: Prevalence, Risk Factors, and Impact on Sexual Satisfaction. PubMed. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16422843/

Delayed Ejaculation. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22125-delayed-ejaculation

Delayed Ejaculation: Symptoms and Causes. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/delayed-ejaculation/symptoms-causes/syc-20371358

Delayed Ejaculation: Understanding Male Orgasmic Disorder. University of Texas. https://labs.la.utexas.edu/mestonlab/male-orgasmic-disorder/

Delayed Ejaculation: Causes, Symptoms, and Treatment. Healthline. https://www.healthline.com/health/delayed-ejaculation

 

อ้างอิง แบบ APA 

Delayed ejaculation – Symptoms and causes – Mayo Clinic

Delayed Ejaculation

Delayed Ejaculation: Causes, Symptoms, & Diagnosis 

สามารถติดตาม S’RENE by SLC ได้ที่