ในปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมหลายอย่างส่งผลกระทบต่อร่างกายแบบที่เราไม่รู้ตัวเลย แค่ตื่นนอนร่างกายก็มีโอกาสได้รับสารพิษโลหะหนักจากเครื่องสำอางที่ใช้แต่งหน้าทุกวัน หรือฝุ่น PM2.5 ที่ก็หนักขึ้นทุกปี รวมไปถึงอาหารบางอย่างที่มีโลหะปนเปื้อนได้ โดยในทุกวันร่างกายเราไม่ได้รับสารพิษในปริมาณมาก ๆ ทีเดียว แต่เป็นการที่ร่างกายสะสมสารพิษโลหะหนักแบบนี้ทุกวัน ซึ่งสุดท้ายแล้วถ้าร่างกายสะสมแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ก็ส่งผลต่อร่างกายอยู่ไม่น้อยเลย
สารบัญบทความ
- การทำคีเลชั่น (Chelation Therapy) คืออะไร
- อาการเมื่อมีพิษโลหะสะสมในร่างกายเป็นอย่างไร
- ความเสี่ยงและอันตรายจากการมีพิษโลหะหนักสะสมในร่างกาย
- ใครบ้างที่ควรทำคีเลชั่น (Chelation)
- ประโยชน์จากการคีเลชั่น (Chelation)
- ผลข้างเคียงจากการทำคีเลชั่น (Chelation)
- ทำคีเลชั่น Chelation ได้บ่อยแค่ไหน
- แพ็กเกจบริการทำคีเลชั่น (Chelation) กับ S’RENE
- คีเลชั่น (Chelation) กับคลินิกสุขภาพคนเมือง S’RENE
การทำคีเลชั่น (Chelation Therapy) คืออะไร
Chelation Therapy การล้างพิษในหลอดเลือด คือ การกำจัดหรือล้างสารพิษโลหะหนัก เป็นวิธีการทางแพทย์โดยการให้สารทางหลอดเลือดดำ หรือที่เรียกว่า IV Drip โดยจะมีกรดเอทิลีนไดอะมีนเตตราอะซิติก (EDTA) ผสมกับแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็น เจ้าตัว EDTA มีหน้าที่ในการจับโมเลกุลของสารพิษในหลอดเลือดอาหาร หลังจากจับสารพิษแล้วร่างกายจะขับออกมาทางปัสสาวะตามปกติ เป็นการขับสารพิษออกจากร่างกายในแบบที่ง่ายที่สุด การทำคีเลขั่นได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย
อาการเมื่อมีพิษโลหะสะสมในร่างกายเป็นอย่างไร
ในเมื่อเรามองไม่เห็นสารพิษโลหะหนักพวกนี้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายสะสมสารพิษโลหะหนักไว้มากเกินไปแล้ว หากร่างกายสะสมสารพิษโลหะหนักในปริมาณที่มากขึ้นร่างกายก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติ ดังนี้
- อ่อนเพลีย ง่วงนอนตลอดวัน รู้สึกเหมือนนอนไม่พอ
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อย ปวดตามข้อและกระดูก
- หงุดหงิดง่าย สมาธิไม่ดี ความจำไม่ค่อยดี
- นอนไม่หลับ หลับยาก หรือนอนหลับไม่สนิท
- เหนื่อยง่าย
- ท้องผูกเรื้อรัง ท้องอืด เรอและผายลมบ่อย
- มีปัญหาผิวพรรณ เป็นสิว ฝ้า
- ภูมิแพ้ ผื่นคัน มีโรคผิวหนังเรื้อรัง
- ระบบเผาผลาญทำงานได้น้อยลง
- เบื่ออาหาร มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ป่วยง่าย ติดเชื้อบ่อย
ความเสี่ยงและอันตรายจากการมีพิษโลหะหนักสะสมในร่างกาย
เมื่อสารพิษโลหะหนักสะสมในผนังหลอดเลือดมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้นบนผนังเซลล์ และไปเร่งกระบวนการการอักเสบต่าง ๆ ทำให้การทำงานของเซลล์ผนังหลอดเลือดผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังได้ อาทิ
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน
- โรคมะเร็ง
- โรคภูมิแพ้
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคหัวใจ
- ความเครียด
- ภาวะฮอร์โมนต่ำ
ใครบ้างที่ควรทำคีเลชั่น (Chelation)
ถ้าเราไม่ได้มีอาการที่รู้สึกว่ามีสารพิษในร่างกาย จะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรได้รับการทำคีเลชั่นบำบัด Chelation therapy นอกเหนือจากอาการที่จะบ่งบอกแล้วผู้ที่ควรได้รับการล้างสารพิษในร่างกายมีดังนี้
- ผู้ที่ใช้ชีวิตในเมือง มีไลฟ์สไตล์เสี่ยงต่อการสะสมสารพิษ
- ผู้ที่ตรวจพบสารพิษหรือโลหะหนักสะสมในร่างกาย
- ผู้ที่มีไขมันในเส้นเลือดสูง
- ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือด
- ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ
- ผู้ที่ทำบอลลูนเส้นเลือด ใส่ขดลวด ทำบายพาสมาแล้ว
- ผู้ที่แข็งแรงดี แต่ต้องการป้องกันตัวเองจากโรคต่างๆ
นอกจากนี้การทำคีเลชั่นสามารถได้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยความถี่ในการรับบริการขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการรับสารพิษโลหะหนัก ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับบริการทุกครั้ง
ประโยชน์จากการคีเลชั่น (Chelation)
ตั้งแต่ที่ได้กล่าวมาของเรื่องการทำคีเลชั่นก็พอจะรู้กันแล้วว่ามีส่วนช่วยในเรื่องล้างสารพิษโลหะหนักที่สะสมค้างอยู่ในร่างกาย แต่นอกจากเรื่องล้างสารพิษแล้วยังมีส่วนช่วยระบบอื่น ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย เรียกว่าข้อดีของการทำคีเลชั่นยังมีอีกหลายอย่าง
- ช่วยลดการสะสมของสารพิษและโลหะหนัก
- ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือดทั้งในสมองและหัวใจ
- ลดความดันโลหิต
- ลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด
- ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
- ช่วยให้ระบบการทำงานของปอดดีขึ้น
- กระตุ้นการทำงานของเส้นเลือดบริเวณปลายแขนและปลายขาให้ทำงานได้ดีขึ้น
- ช่วยบรรเทาอาการอัลไซเมอร์
- ช่วยลดอาการของโรคภูมิแพ้
การเตรียมตัวก่อนทำคีเลชั่น
แนะนำให้ผู้เข้ารับบริการพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารก่อนเข้ารับบริการอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพราะหลังทำอาจรู้สึกอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะได้
ผลข้างเคียงจากการทำคีเลชั่น (Chelation)
หลังทำคีเลชั่นครั้งแรกอาจมีอาการอ่อนเพลียได้ หรือในช่วงแรก ๆ จะรู้สึกว่ามีอาการมึนศีรษะหรืออ่อนเพลียจากการที่ร่างกายมีการพยายามขับสารพิษ
ข้อห้ามในการทำคีเลชั่น (Chelation)
- ผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
- ผู้ที่อยู่ระหว่างการให้เคมีบำบัดหรือฮอร์โมนบำบัด
- ผู้ที่มีภาวะการทำงานของตับและไตบกพร่อง
ทำคีเลชั่น Chelation ได้บ่อยแค่ไหน
สามารถทำคีเลชั่นได้ทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และขึ้นอยู่กับอาการและผลตรวจร่างกายของแต่ละบุคคล ทั้งนี้สามารถทำต่อเนื่องได้ตั้งแต่ 5-10 ครั้ง
คำแนะนำหลังการทำคีเลชั่น (Chelation)
ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร ในช่วง 3 วันแรก เพื่อให้โลหะหนักถูกกำจัดออกทางปัสสาวะได้เร็วขึ้น และควรงดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำคีเลชั่นลดลง
แพ็กเกจบริการทำคีเลชั่น (Chelation) กับ S’RENE
โปรแกรมล้างสารพิษในหลอดเลือดคีเลชั่น Chelation therapy ราคา 8,900.-/ครั้ง
คีเลชั่น (Chelation) กับคลินิกสุขภาพคนเมือง S’RENE
เมื่อได้รู้จักการทำคีเลชั่น Chelation therapy การล้างพิษในหลอดเลือดแล้ว ขอบอกตรงนี้เลยว่าเป็นบริการที่ดีเหมาะกับคนเมืองในปัจจุบันมาก ๆ เพราะในทุก ๆ วันที่เราออกไปใช้ชีวิตเราไม่มีทางรู้เลยว่าเราต้องเผชิญกับสารพิษโลหะหนักมากน้อยแค่ไหน แต่การทำคีเลชั่น คือ ตัวช่วยทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขแล้วด้วยว่าเป็นวิธีล้างสารพิษที่ปลอดภัยและไม่อันตราย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดคิวปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ S’RENE by SLC ได้ที่
- สาขาทองหล่อ โทร 064 184 5237
- สาขาชาน แจ้งวัฒนะ โทร 099 807 7261
- Line: @SRENEbySLC หรือคลิก https://bit.ly/3IlXtvw
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
What Is Chelation Therapy?. WebMD Editorial. WebMD.https://www.webmd.com/balance/what-is-chelation-therapy
What to know about chelation therapy. Louise Morales-Brown. Medical News Today.https://www.medicalnewstoday.com/articles/chelation-therapy#benefits
อาการแบบไหน ? สัญญาณเตือน “โลหะหนัก” ตกค้างในร่างกาย. จิราภพ ทวีสูงส่ง. Thai PBS.https://www.thaipbs.or.th/now/content/1027
คีเลชั่นบำบัด. CHELATION MEDICAL ASSOCIATION, THAI.https://www.cmat.or.th/contentList.php?op=4